นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีคำสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภาคใต้ 9 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วม ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมและที่ศูนย์อพยพ โดยให้จัดทีมหมอครอบครัวดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ติดอยู่ในบ้านน้ำท่วม หรือถ้าหากประชาชนไม่สามารถออกไปพบแพทย์ตามนัดได้ สามารถโทรแจ้งที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อจะได้จัดส่งยาให้ถึงบ้าน เนื่องจากขณะนี้มีพื้นที่ที่น่าห่วง 2 จังหวัด คือ โรงพยาบาลชะอวด จ.นครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลหลังสวน จ.ชุมพร เพราะยังมีปริมาณน้ำมาก แต่สถานบริการทุกแห่งเปิดให้บริการตามปกติ ไม่มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง พร้อมประสานส่งแพทย์ พยาบาล จาก จ.พังงา ภูเก็ต กระบี่ รวมทั้งทีมแพทย์สนามฉุกเฉินในเขตภาคใต้ 10 ชุด (MERT) หากเกิดเหตุน้ำท่วมอีกระลอก
นอกจากนี้ ได้ส่งทีมวิศวกรทางการแพทย์เข้าไปดูแลเครื่องมือทางการแพทย์จาก และทีมวิศวกรโยธา ดูแลอาคารสถานที่ ระบบบำบัดน้ำเสีย ให้มีความปลอดภัย และสำรองยาชุดน้ำท่วมจำนวนกว่า 300,000 ชุดพร้อมสนับสนุนพื้นที่ประสบภัยอย่างเต็มที
ทั้งนี้ มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกอำเภอเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคไข้ฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ไข้หวัดใหญ่ และขอความร่วมมือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะบ้านที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งส้วมมักจะใช้การไม่ได้ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงในถุงดำหรือถุงพลาสติก แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปฝังกลบ ไม่ทิ้งขยะลงน้ำ เพื่อลดความสกปรก ให้ดื่มนำสะอาดบรรจุขวด หรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ให้ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังออกจากห้องน้ำทุกครั้ง หลังจากเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน ให้ล้างทำความสะอาดมือ เท้า ด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง หากประชาชนมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่อง ร่วมกับอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจะเป็นโรคไข้ฉี่หนู ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านและหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือยาที่กินประจำใกล้หมด สามารถโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วนกู้ชีพ
นอกจากนี้ ได้ส่งทีมวิศวกรทางการแพทย์เข้าไปดูแลเครื่องมือทางการแพทย์จาก และทีมวิศวกรโยธา ดูแลอาคารสถานที่ ระบบบำบัดน้ำเสีย ให้มีความปลอดภัย และสำรองยาชุดน้ำท่วมจำนวนกว่า 300,000 ชุดพร้อมสนับสนุนพื้นที่ประสบภัยอย่างเต็มที
ทั้งนี้ มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกอำเภอเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคไข้ฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ไข้หวัดใหญ่ และขอความร่วมมือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะบ้านที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งส้วมมักจะใช้การไม่ได้ ขอให้ถ่ายอุจจาระลงในถุงดำหรือถุงพลาสติก แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปฝังกลบ ไม่ทิ้งขยะลงน้ำ เพื่อลดความสกปรก ให้ดื่มนำสะอาดบรรจุขวด หรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ให้ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังออกจากห้องน้ำทุกครั้ง หลังจากเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน ให้ล้างทำความสะอาดมือ เท้า ด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง หากประชาชนมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่อง ร่วมกับอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าอาจะเป็นโรคไข้ฉี่หนู ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านและหากเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือยาที่กินประจำใกล้หมด สามารถโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วนกู้ชีพ