นายสมชาย แสวงการ เลขานุการคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ในมาตรา 7 เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชว่า พรุ่งนี้ (29 ธ.ค.) ในเวลา 10.00 น. นายออมสิน ชีวพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานวิปรัฐบาล จะเดินทางมารับฟังคำชี้แจงจาก สนช.ถึงการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งวิป สนช.ได้ส่งให้ประธาน สนช.พิจารณาแล้ว และเห็นว่าไม่ใช่ร่างเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งสนช.สามารถเข้าชื่อกันเกิน 25 คน เสนอร่างกฎหมายได้
นายสมชาย กล่าวว่า หลังรับฟังแล้วก็ขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลจะตัดสินใจว่า จะเสนอร่างกฎหมายประกบหรือไม่ การเสนอแก้ไขดังกล่าว ไม่ได้มีใบสั่งจากใคร แต่เป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมฯ ของ สนช.ศึกษามาเป็นปีแล้ว เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาได้ จึงเสนอแก้ไข ซึ่งตามกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ในอดีตก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร แต่ในปี 2535 มีผู้หวังดีเสนอแก้ไข แต่ไม่เคยได้ใช้ตามที่แก้ เพราะสมเด็จพระสังฆราชทรงได้รับการสถาปนาเมื่อปี 2502 สนช.จึงเห็นว่าควรกลับไปใช้ตามความเดิมจะดีกว่า เพราะขณะนี้มีข้อขัดแย้งกันว่าใครจะต้องเป็นผู้พิจารณาก่อนที่จะทูลเกล้าฯ ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับมหาเถรสมาคม
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ไม่มีใบสั่งจากใครทั้งนั้น สนช. 84 คนที่ร่วมลงชื่อล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น และเรื่องนี้มีการศึกษามานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาศึกษา และเพื่อความสงบสุข ในอดีตก็ใช้ตามมาตราเดิม ไม่เคยมีปัญหา เพิ่งมามีปัญหาตอนนี้
นายสมชาย กล่าวว่า การเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ดังกล่าวไม่ทำให้เกิดความวุ่นวาย หรือวิกฤตในวงการสงฆ์ เพราะเป็นเรื่องทางโลก และเชื่อว่าส่วนใหญ่เห็นด้วย อาจจะมีเพียงบางส่วนที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน แต่คงไม่ถึงกับออกมาเคลื่อนไหว เพราะหากเคลื่อนไหวไม่ต่างอะไรกับการชุมนุมทางการเมือง และเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อวงการศาสนา จึงมั่นใจว่าจะไม่บานปลาย
นายสมชาย กล่าวว่า หลังรับฟังแล้วก็ขึ้นอยู่กับทางรัฐบาลจะตัดสินใจว่า จะเสนอร่างกฎหมายประกบหรือไม่ การเสนอแก้ไขดังกล่าว ไม่ได้มีใบสั่งจากใคร แต่เป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรมฯ ของ สนช.ศึกษามาเป็นปีแล้ว เพราะเห็นว่าจะทำให้เกิดปัญหาได้ จึงเสนอแก้ไข ซึ่งตามกฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ในอดีตก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร แต่ในปี 2535 มีผู้หวังดีเสนอแก้ไข แต่ไม่เคยได้ใช้ตามที่แก้ เพราะสมเด็จพระสังฆราชทรงได้รับการสถาปนาเมื่อปี 2502 สนช.จึงเห็นว่าควรกลับไปใช้ตามความเดิมจะดีกว่า เพราะขณะนี้มีข้อขัดแย้งกันว่าใครจะต้องเป็นผู้พิจารณาก่อนที่จะทูลเกล้าฯ ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับมหาเถรสมาคม
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ไม่มีใบสั่งจากใครทั้งนั้น สนช. 84 คนที่ร่วมลงชื่อล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้น และเรื่องนี้มีการศึกษามานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาศึกษา และเพื่อความสงบสุข ในอดีตก็ใช้ตามมาตราเดิม ไม่เคยมีปัญหา เพิ่งมามีปัญหาตอนนี้
นายสมชาย กล่าวว่า การเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ดังกล่าวไม่ทำให้เกิดความวุ่นวาย หรือวิกฤตในวงการสงฆ์ เพราะเป็นเรื่องทางโลก และเชื่อว่าส่วนใหญ่เห็นด้วย อาจจะมีเพียงบางส่วนที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน แต่คงไม่ถึงกับออกมาเคลื่อนไหว เพราะหากเคลื่อนไหวไม่ต่างอะไรกับการชุมนุมทางการเมือง และเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อวงการศาสนา จึงมั่นใจว่าจะไม่บานปลาย