นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า จากการที่กรมราชทัณฑ์เตรียมแผนรองรับการปล่อยตัวผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และอภัยโทษลดโทษปล่อยตัว ตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2559 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และเนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมดำเนินการ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในส่วนของกระทรวงแรงงาน มีนโยบายส่งเสริมการมีงานทำ และการฝึกทักษะอาชีพให้กับคนทุกกลุ่ม โดยมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)เป็นหน่วยงานหลักฝึกอาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงานให้กับผู้ที่จะได้รับอภัยโทษ พร้อมกับทุกหน่วยงานในสังกัดจะให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สวัสดิการ การประกันสังคม รวมถึงการเข้าถึงแหล่งงานด้วย
ทั้งนี้การฝึกอาชีพให้กับผู้ที่จะได้รับอภัยโทษ และนักโทษชั้นดีโดยเริ่มพร้อมเพรียงกันทั้ง 77 จังหวัด ในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่เป็นมหามงคล คือ 1+9 เท่ากับ 10 หมายถึง รัชกาลที่ 10 และ เลข 9 หมายถึง รัชกาลที่ 9 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ทั้ง 2 พระองค์ โดยจะดำเนินการฝึกอย่างน้อยจังหวัดละ 1 รุ่น ๆละ 20 คน รวม 1,540 คน สาขาที่ทำการฝึก ส่วนใหญ่เป็นสาขาช่างที่อยู่ในความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเชื่อม ช่างทำมุ้งลวดเหล็กดัด ช่างซ่อมบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก จึงเป็นการสร้างโอกาสให้มีงานทำ รวมถึงการมีกิจการส่วนตัวในอนาคต
ทั้งนี้การฝึกอาชีพให้กับผู้ที่จะได้รับอภัยโทษ และนักโทษชั้นดีโดยเริ่มพร้อมเพรียงกันทั้ง 77 จังหวัด ในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่เป็นมหามงคล คือ 1+9 เท่ากับ 10 หมายถึง รัชกาลที่ 10 และ เลข 9 หมายถึง รัชกาลที่ 9 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ทั้ง 2 พระองค์ โดยจะดำเนินการฝึกอย่างน้อยจังหวัดละ 1 รุ่น ๆละ 20 คน รวม 1,540 คน สาขาที่ทำการฝึก ส่วนใหญ่เป็นสาขาช่างที่อยู่ในความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น ช่างปูกระเบื้อง ช่างเชื่อม ช่างทำมุ้งลวดเหล็กดัด ช่างซ่อมบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก จึงเป็นการสร้างโอกาสให้มีงานทำ รวมถึงการมีกิจการส่วนตัวในอนาคต