นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ตามที่ผลสำรวจความเห็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯเรื่อง “คนกรุงเทพฯ รู้สึกอย่างไรเมื่อพบเจอคนเร่ร่อน” อยากแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากนั้น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งได้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในปี 2557 ทำให้การคุ้มครองคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง มีแนวทางการปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
สำหรับการคุ้มครองคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ต้องได้รับความยินยอมจากคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งหลายกรณีที่หน่วยงานของรัฐเสนอความช่วยเหลือ แต่คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ปฏิเสธความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินการมาตรการสำคัญหลายประการ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การจัดระเบียบคนขอทาน คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 พบว่า มีคนขอทานและคนเร่ร่อนที่ผ่านเข้าสู่การจัดระเบียบประมาณเกือบ 5,000 คน ซึ่งร้อยละ 60 ที่กลับคืนสู่ครอบครัว และร้อยละ 40 ที่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟู ปรับทัศนคติ และฝึกอาชีพตามโครงการธัญบุรีโมเดล และโครงการบ้านน้อยในนิคม และ การจัดระเบียบคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่งใน 20 สถานีรถไฟ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานีรถไฟเป็นแหล่งที่มีคนเร่ร่อนพักนอนเป็นจำนวนมาก โดยลงพื้นที่ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ระหว่างเวลา 19.00-23.00 น.ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน 2559 พบว่า มีคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง 474 คน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ที่ไม่ต้องการรับความช่วยเหลือแต่อย่างใด และมีเพียงร้อยละ 20 ที่ขอความช่วยเหลือในเรื่องการส่งกลับภูมิลำเนาเดิม การทำบัตรประชาชน การส่งไปรักษาพยาบาล และการจัดหางานให้ทำ
สำหรับการคุ้มครองคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ต้องได้รับความยินยอมจากคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งหลายกรณีที่หน่วยงานของรัฐเสนอความช่วยเหลือ แต่คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ปฏิเสธความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินการมาตรการสำคัญหลายประการ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาทิ การจัดระเบียบคนขอทาน คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 พบว่า มีคนขอทานและคนเร่ร่อนที่ผ่านเข้าสู่การจัดระเบียบประมาณเกือบ 5,000 คน ซึ่งร้อยละ 60 ที่กลับคืนสู่ครอบครัว และร้อยละ 40 ที่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟู ปรับทัศนคติ และฝึกอาชีพตามโครงการธัญบุรีโมเดล และโครงการบ้านน้อยในนิคม และ การจัดระเบียบคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่งใน 20 สถานีรถไฟ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานีรถไฟเป็นแหล่งที่มีคนเร่ร่อนพักนอนเป็นจำนวนมาก โดยลงพื้นที่ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ ระหว่างเวลา 19.00-23.00 น.ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน 2559 พบว่า มีคนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง 474 คน ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ที่ไม่ต้องการรับความช่วยเหลือแต่อย่างใด และมีเพียงร้อยละ 20 ที่ขอความช่วยเหลือในเรื่องการส่งกลับภูมิลำเนาเดิม การทำบัตรประชาชน การส่งไปรักษาพยาบาล และการจัดหางานให้ทำ