นายปรีชา พลันการ ชาวตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา นำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในไร่นาของตนเอง โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ปลูกผักเหมียงในระหว่างสวนยางพาราและเลี้ยงโคขุน นอกจากเป็นการลดความเสี่ยงในการทำกิจกรรมการเกษตรเชิงเดี่ยวแล้ว สามารถใช้แรงงานในครัวเรือนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สมาชิกในครัวเรือนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก สามัคคี และไม่มีปัญหาในสังคม
นายปรีชา เล่าว่า หลังราคายางพาราเริ่มตกต่ำตน จึงหาแนวทางเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ประกอบกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาและสำนักงานเกษตรอำเภอทับปุดได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักเหมียง ซึ่งเป็นผักพื้นเมืองประจำถิ่นของจังหวัดพังงา และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการมาก จึงเข้าร่วมโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหมียงกิ่งตอน จำนวน 200 ต้น นำไปปลูกแซมในสวนยางพารา ปัจจุบันผักเหมียง อายุ 4 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ ครั้งละ 100 – 200 มัด ผลผลิตแจกจ่ายให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ที่เหลือจึงจำหน่าย มัดละ 10 บาท สร้างรายได้ให้กับครอบครัว เดือนละ 3,000 – 4,000 บาท นอกจากปลูกผักเหมียงแซมในสวนยางพาราแล้ว ยังเลี้ยงโคขุนในสวนปาล์ม เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ จำนวน 12 ตัว สามารถจำหน่ายโคเนื้อได้ ปีละ 3 ตัว ๆละ 30,000 – 40,000 บาท มูลโคก็นำไปเป็นปุ๋ยใส่ผักเหมียง ลดต้นทุนในการผลิต
นายปรีชา เล่าว่า หลังราคายางพาราเริ่มตกต่ำตน จึงหาแนวทางเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว ประกอบกับสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงาและสำนักงานเกษตรอำเภอทับปุดได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักเหมียง ซึ่งเป็นผักพื้นเมืองประจำถิ่นของจังหวัดพังงา และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการมาก จึงเข้าร่วมโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหมียงกิ่งตอน จำนวน 200 ต้น นำไปปลูกแซมในสวนยางพารา ปัจจุบันผักเหมียง อายุ 4 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ ครั้งละ 100 – 200 มัด ผลผลิตแจกจ่ายให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ที่เหลือจึงจำหน่าย มัดละ 10 บาท สร้างรายได้ให้กับครอบครัว เดือนละ 3,000 – 4,000 บาท นอกจากปลูกผักเหมียงแซมในสวนยางพาราแล้ว ยังเลี้ยงโคขุนในสวนปาล์ม เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ จำนวน 12 ตัว สามารถจำหน่ายโคเนื้อได้ ปีละ 3 ตัว ๆละ 30,000 – 40,000 บาท มูลโคก็นำไปเป็นปุ๋ยใส่ผักเหมียง ลดต้นทุนในการผลิต