พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะผู้แทนกรรมาธิการประมง (PECH) รัฐสภายุโรป เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) โดยได้ชื่นชมความพยายามในการแก้ไขปัญหาของไทย โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมาย แผนการทำงาน และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ชัดเจนในหลายด้าน
ทั้งนี้ คณะผู้แทนได้พูดคุยอย่างเปิดเผย และสนับสนุนให้ไทยดำเนินงานตามแนวทางที่ปฏิบัติต่อไป โดยสหภาพยุโรปจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการทำประมงที่ไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในอุตสาหกรรมประมง และหากไทยสามารถปรับปรุงกฎระเบียบด้านการประมงสำเร็จและบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ สิ่งที่ไทยจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีกคือ การจัดระเบียบและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอย่างผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง เพราะอียูมองว่าไม่สามารถแยกเรื่องแรงงานออกจากประเด็นการทำประมงผิดกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางการไทยได้ดำเนินการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตั้งแต่การเข้ามาทำงานในประเทศมิให้ถูกเอาเปรียบ การนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ การดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม อำนวยความสะดวกด้านการร้องเรียน การเปลี่ยนนายจ้าง มีการเพิ่มผู้ตรวจแรงงาน ล่าม รวมถึงการออกหนังสือคนประจำเรือและการสัมภาษณ์แรงงาน และร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ NGOs ในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและข้อแนะนำของอียู โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวควบคู่ไปกับปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งฝากให้กำลังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากรัฐสภายุโรปเดินทางมายังประเทศไทย เมื่อวันที่ 1-4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และได้เข้าพบหารือกับผู้แทน ศปมผ. กระทรวงแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมศูนย์จัดการประมง (FMC) และการทำงานของระบบ VMS องค์การสะพานปลา และศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) จ.สมุทรสาคร ซึ่งได้รับทราบผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนการประกาศผลการพิจารณาการแก้ไขปัญหาของไทยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2560
ทั้งนี้ คณะผู้แทนได้พูดคุยอย่างเปิดเผย และสนับสนุนให้ไทยดำเนินงานตามแนวทางที่ปฏิบัติต่อไป โดยสหภาพยุโรปจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการทำประมงที่ไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในอุตสาหกรรมประมง และหากไทยสามารถปรับปรุงกฎระเบียบด้านการประมงสำเร็จและบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ สิ่งที่ไทยจะต้องพยายามเพิ่มขึ้นอีกคือ การจัดระเบียบและคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอย่างผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมง เพราะอียูมองว่าไม่สามารถแยกเรื่องแรงงานออกจากประเด็นการทำประมงผิดกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมาทางการไทยได้ดำเนินการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตั้งแต่การเข้ามาทำงานในประเทศมิให้ถูกเอาเปรียบ การนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ การดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม อำนวยความสะดวกด้านการร้องเรียน การเปลี่ยนนายจ้าง มีการเพิ่มผู้ตรวจแรงงาน ล่าม รวมถึงการออกหนังสือคนประจำเรือและการสัมภาษณ์แรงงาน และร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ NGOs ในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและข้อแนะนำของอียู โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวควบคู่ไปกับปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งฝากให้กำลังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่มุ่งมั่น ทุ่มเท ทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมประมงและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของไทยอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ คณะผู้แทนจากรัฐสภายุโรปเดินทางมายังประเทศไทย เมื่อวันที่ 1-4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และได้เข้าพบหารือกับผู้แทน ศปมผ. กระทรวงแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมศูนย์จัดการประมง (FMC) และการทำงานของระบบ VMS องค์การสะพานปลา และศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) จ.สมุทรสาคร ซึ่งได้รับทราบผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนการประกาศผลการพิจารณาการแก้ไขปัญหาของไทยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2560