นางเสาวณี สุวรรณชีพ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ... กล่าวถึงการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ให้สอดคล้องกับมติที่ประชุม สนช.ว่า เบื้องต้นได้ดูไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่บางส่วนทางกรรมาธิการฯ คงจะต้องยืนยันในหลักการตามที่คิดไว้ ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณสมบัติกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สมาชิกลงมติให้คงตามร่างเดิมนั้นก็คงต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกัน โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้พูดคุยกับทางกรรมาธิการฯ เพื่อให้เข้าใจในกระบวนการทำงานอย่างเป็นหลักวิชาการของด้านนี้ เนื่องจากการประชุมของ สนช.ไปมุ่งเน้นเรื่องคุณสมบัติ และจริยธรรม โดยไม่ได้คำนึงว่ากฎหมายที่ออกมาจะต้องสอดคล้องกับหลักปฏิบัติด้วย ซึ่งหลักปฏิบัติด้านนี้ ก็ไม่ได้เหมือนกับหลักปฏิบัติอื่นๆ
นางเสาวณี กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้เป็น พ.ร.บ.ที่มากำกับหรือติดตาม แต่เป็นเรื่องของการจัดการบริหาร กระบวนการทำงานของระบบไอซีที ซึ่งมันขยายออกไปนอกเหนือจากภาครัฐแล้วก็ไปภาคเอกชนและภาคประชาชน ดังนั้นขอบเขตจะกว้างขวางมาก และกระบวนการทำงานก็จะซับซ้อน ซึ่งจุดประสงค์ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องการนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลทางด้านไอทีอยากจะเห็นมานานแล้ว ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่รัฐบาลมองก้าวข้ามจากจุดของราชการไปสู่เอกชนและประชาชน เพราะกฎหมายจะมายึดติดอยู่แต่การห้ามคงจะไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของการบริหารที่จะต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้
นางเสาวณี กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้เป็น พ.ร.บ.ที่มากำกับหรือติดตาม แต่เป็นเรื่องของการจัดการบริหาร กระบวนการทำงานของระบบไอซีที ซึ่งมันขยายออกไปนอกเหนือจากภาครัฐแล้วก็ไปภาคเอกชนและภาคประชาชน ดังนั้นขอบเขตจะกว้างขวางมาก และกระบวนการทำงานก็จะซับซ้อน ซึ่งจุดประสงค์ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องการนั้นเป็นสิ่งที่บุคคลทางด้านไอทีอยากจะเห็นมานานแล้ว ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่รัฐบาลมองก้าวข้ามจากจุดของราชการไปสู่เอกชนและประชาชน เพราะกฎหมายจะมายึดติดอยู่แต่การห้ามคงจะไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของการบริหารที่จะต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้ทุกอย่างสามารถเป็นไปได้