รายงานข่าวจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พีอีเอ) เปิดเผยว่า มีหลายหน่วยงานราชการที่ติดค้างค่าไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยหน่วยงานทหาร เป็นหน่วยงานที่ติดค้างค่าไฟฟ้าสูงสุด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการกำหนดงบประมาณค่าสาธาณูปโภค ที่ใช้ในหน่วยงานไม่เพียงพอ เช่น มีค่าสาธาณูปโภค 7 ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายจริง 10 ล้านบาท จึงเลือกที่จะที่ติดค้างค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานภายใต้การดูแลของรัฐก่อน
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์และรองโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวในการบรรยายหัวข้อ "ทำไมต้องปรับลดอัตรา ฟีด อินทารีฟ โซลาร์เซลล์”ว่า กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) หารือกับสำนักงบประมาณ ให้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณโดยตรงให้กับหน่วยงานราชการทุกแห่ง เพื่อลงทุนติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารต่างๆ (โซลาร์รูฟท็อป) ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคของหน่วยงานราชการทั่วประเทศ
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ปรับอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง หรือเอฟไอที สำหรับผู้ผลิตรายเล็กมาก (วีเอสพีพี) จากเดิม 5.66 บาทต่อหน่วยปี 57 มาอยู่ที่ 4.12 บาทต่อหน่วยในปี 59 โดยอัตรานี้คาดว่า จะใช้ไปจนถึงปี 61 และหลังจากนั้นจึงจะคำนวณต้นทุนใหม่เพื่อกำหนดเอฟไอที ให้เหมาะสมอีกครั้งและใช้ในปี 62
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์และรองโฆษกกระทรวงพลังงาน กล่าวในการบรรยายหัวข้อ "ทำไมต้องปรับลดอัตรา ฟีด อินทารีฟ โซลาร์เซลล์”ว่า กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) หารือกับสำนักงบประมาณ ให้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณโดยตรงให้กับหน่วยงานราชการทุกแห่ง เพื่อลงทุนติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารต่างๆ (โซลาร์รูฟท็อป) ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคของหน่วยงานราชการทั่วประเทศ
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ปรับอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง หรือเอฟไอที สำหรับผู้ผลิตรายเล็กมาก (วีเอสพีพี) จากเดิม 5.66 บาทต่อหน่วยปี 57 มาอยู่ที่ 4.12 บาทต่อหน่วยในปี 59 โดยอัตรานี้คาดว่า จะใช้ไปจนถึงปี 61 และหลังจากนั้นจึงจะคำนวณต้นทุนใหม่เพื่อกำหนดเอฟไอที ให้เหมาะสมอีกครั้งและใช้ในปี 62