ใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมหรือโรงแต่งแร่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร และเพชรบูรณ์ จะสิ้นสุดลงในอีก 2 เดือนข้างหน้าหรือในสิ้นปีนี้ หากไม่ได้รับการต่อใบอนุญาต การทำเหมืองทองคำก็จะยุติไปโดยปริยาย เพราะไม่อาจแต่งสินแร่ที่ได้จากการทำเหมือง จากเหตุผลดังกล่าว ภายในสัปดาห์นี้ บริษัท อัคราฯ จึงเตรียมยื่นเรื่องขอต่อใบอนุญาตประกอบโลหกรรม หรือโรงแต่งแร่ทองคำไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่(กพร.) เนื่องจากการยื่นขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุ 60 วัน พร้อมแนบผลสำรวจความคิดเห็น ความพึงพอใจของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองทองคำทั้ง 29 หมู่บ้าน ที่ผลสำรวจของบริษัทฯ ระบุว่า ชาวบ้านร้อยละ 88 พึงพอใจ ถึงพึงพอใจมากที่ให้เหมืองทองคำ อยู่ร่วมกับชุมชนต่อไป และประชาชนกลุ่มนี้ มากถึงร้อยละ 93.6 ยังระบุด้วยว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง บริษัทยังอ้างถึงการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนครั้งนี้ว่า เป็นไปตามคำแนะนำของ กพร.ที่ระบุว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ควรได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในการดำเนินกิจการ หรือ Social License to Operate
นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ระบุว่า ผลสำรวจพบว่า ที่ชาวบ้านร้อยละ 88 พึงพอใจ ถึงพึงพอใจมากที่ให้เหมืองทองคำ อยู่ร่วมกับชุมชนต่อไป ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 12 นั้น จำนวนร้อยละ 7 ระบุว่า เฉยๆ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 2 ไม่พอใจเล็กน้อยถึงไม่พอใจ ที่เหลืออีกร้อยละ 3 ไม่ตอบคำถาม และประชาชนทั้ง 29 หมู่บ้านมากถึงร้อยละ 93.6 ยังระบุด้วยว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง แต่มีข้อเสนอแนะให้บริษัทฯ เพิ่มความเข้าใจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้ทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความวิตกกังวล
นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เหมืองทองคำดำเนินงานอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดีมาโดยตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และอัคราฯได้รับการต้อนรับจากคนในชุมชน โดยเฉพาะการดูแลและให้ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบเหมืองมาโดยตลอด
นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ระบุว่า ผลสำรวจพบว่า ที่ชาวบ้านร้อยละ 88 พึงพอใจ ถึงพึงพอใจมากที่ให้เหมืองทองคำ อยู่ร่วมกับชุมชนต่อไป ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 12 นั้น จำนวนร้อยละ 7 ระบุว่า เฉยๆ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 2 ไม่พอใจเล็กน้อยถึงไม่พอใจ ที่เหลืออีกร้อยละ 3 ไม่ตอบคำถาม และประชาชนทั้ง 29 หมู่บ้านมากถึงร้อยละ 93.6 ยังระบุด้วยว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง แต่มีข้อเสนอแนะให้บริษัทฯ เพิ่มความเข้าใจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้ทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความวิตกกังวล
นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เหมืองทองคำดำเนินงานอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดีมาโดยตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และอัคราฯได้รับการต้อนรับจากคนในชุมชน โดยเฉพาะการดูแลและให้ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบเหมืองมาโดยตลอด