นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในทารกรายที่ 3 เพื่อหาสาเหตุศีรษะเล็กว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกานั้น ล่าสุดผลการตรวจไม่พบเชื้อไวรัสซิกา จึงน่าจะเป็นภาวะศีรษะเล็กจากสาเหตุอื่น ส่วนกรณีทารกในครรภ์ที่ก่อนหน้านี้ผลตรวจอัลตราซาวด์อาจจะมีศีรษะเล็กนั้น ล่าสุดทารกคนดังกล่าวได้คลอดแล้ว เมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา มีอาการปกติ และไม่เข้าเกณฑ์ศีรษะเล็ก แต่จะมีการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งและติดตามทารกรายนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับการเฝ้าระวังและติดตามในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 57 ราย คลอดแล้ว 12 ราย ทารกทุกรายมีอาการปกติ
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และทำให้ยุงลายมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยโรคที่มาจากยุงลายเพิ่มขึ้น 1.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. - 14 ต.ค พบผู้ป่วย 520 ราย ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยรายใหม่ 79 ราย
2.โรคไข้เลือดออกพบผู้ป่วย 47,649 ราย เสียชีวิต 38 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 1,305 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ สงขลา พัทลุง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และปัตตานี และ 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือไข้ชิคุนกุนยา พบผู้ป่วย 13 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ดังนั้นขอให้ประชาชนเดินหน้าตามมาตรการเก็บบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายยุงตัวแก่ เพื่อลดการระบาดของ 3 โรคดังกล่าว
ทั้งนี้ สำหรับการเฝ้าระวังและติดตามในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 57 ราย คลอดแล้ว 12 ราย ทารกทุกรายมีอาการปกติ
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และทำให้ยุงลายมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยโรคที่มาจากยุงลายเพิ่มขึ้น 1.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. - 14 ต.ค พบผู้ป่วย 520 ราย ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยรายใหม่ 79 ราย
2.โรคไข้เลือดออกพบผู้ป่วย 47,649 ราย เสียชีวิต 38 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 1,305 ราย จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ สงขลา พัทลุง เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และปัตตานี และ 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือไข้ชิคุนกุนยา พบผู้ป่วย 13 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ดังนั้นขอให้ประชาชนเดินหน้าตามมาตรการเก็บบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำลายยุงตัวแก่ เพื่อลดการระบาดของ 3 โรคดังกล่าว