นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้กระแสนิยมการดูแลบำรุงผิวหน้าให้ขาวใส ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากสถิติของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยนานาชาติ (ISAPS) ปี 2558 ทั่วโลกมีผู้เข้ารับการเสริมความงามโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัดกว่า 12 ล้านคน เพิ่มจากปี 2557 ประมาณร้อยละ 20 ในจำนวนนี้เป็นการรักษาเฉพาะผิวหน้า (Facial Rejuvenation) กว่า 2.2 ล้านคน สูงกว่าปี 2557 ถึงร้อยละ 52 แสดงให้เห็นว่าประชาชนในยุคดิจิทัลให้ความสนใจการเพิ่มเสน่ห์บนใบหน้า ตามกระแสนิยมการโชว์สวย-หล่อทางสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรม เพื่อเรียกยอดไลค์ จึงอาศัยบริการจากคลินิกที่ให้บริการด้านเสริมความงามกันมากขึ้น ซึ่งบริการที่พบได้บ่อยในคลินิกประเภทนี้คือ การใช้เครื่องไอออนโตโฟเรซีส (Iontophoresis) และโฟโนโฟเรซิส (Phonophoresis) ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีการที่ทำให้ผิวหน้าใส ไร้ริ้วรอย ฝ้า รอยด่างดำ แผลเป็นจากสิวได้
นายแพทย์วิศิษฎ์ กล่าวว่า การทำไอออนโตโฟเรซีส และโฟโนโฟเรซิสทั้ง 2 วิธี จะต้องทำโดยแพทย์ซึ่งมีความรู้ในการใช้เครื่องมือ และทำในสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามร้านเสริมสวย หรือสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้งสปา-นวด นำไปให้บริการโดยเด็ดขาด เพราะการใช้เครื่องมือชนิดนี้โดยบุคคลที่มิใช่แพทย์อาจเกิดอันตราย ทั้งผิวหน้าไหม้เกรียมดำจนเสียโฉม บาดเจ็บจากไฟฟ้าช็อต หรือผิวหน้าเสียหายจากการใช้ยาหรือวิตามินที่ไม่เหมาะสมก็ได้ ทำให้มีรอยแผลบนใบหน้าจนขาดความมั่นใจแทนจะได้ผิวขาวใสอย่างที่หวัง ซึ่งกรม สบส.ได้ควบคุมมาตรฐานการให้บริการ โดยกำหนดให้เครื่องมือแพทย์ทุกชนิดในคลินิกที่ให้บริการด้านเสริมความงามจะต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้ให้บริการต้องเป็นแพทย์จริงที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม และต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น
นายแพทย์วิศิษฎ์ กล่าวว่า การทำไอออนโตโฟเรซีส และโฟโนโฟเรซิสทั้ง 2 วิธี จะต้องทำโดยแพทย์ซึ่งมีความรู้ในการใช้เครื่องมือ และทำในสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามร้านเสริมสวย หรือสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้งสปา-นวด นำไปให้บริการโดยเด็ดขาด เพราะการใช้เครื่องมือชนิดนี้โดยบุคคลที่มิใช่แพทย์อาจเกิดอันตราย ทั้งผิวหน้าไหม้เกรียมดำจนเสียโฉม บาดเจ็บจากไฟฟ้าช็อต หรือผิวหน้าเสียหายจากการใช้ยาหรือวิตามินที่ไม่เหมาะสมก็ได้ ทำให้มีรอยแผลบนใบหน้าจนขาดความมั่นใจแทนจะได้ผิวขาวใสอย่างที่หวัง ซึ่งกรม สบส.ได้ควบคุมมาตรฐานการให้บริการ โดยกำหนดให้เครื่องมือแพทย์ทุกชนิดในคลินิกที่ให้บริการด้านเสริมความงามจะต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้ให้บริการต้องเป็นแพทย์จริงที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม และต้องทำในสถานพยาบาลเท่านั้น