นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเปิดงานเสวนาจัดทัพธุรกิจไทยไปพม่า จัดโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในเชิงลึกเกี่ยวกับช่องทางการขยายธุรกิจ ทั้งการค้าการลงทุนไปยังตลาดพม่า หลังจากคณะทำงานสานพลังประชารัฐด้านการส่งออก และการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ (ประชารัฐ D4) จะเห็นได้ว่าการทำงานของภาครัฐ และภาคเอกชนมีการบูรณาการ และผนึกกำลังกันอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยกันเสริมกำลังให้ทัพนักธุรกิจ SMEs ไทย เกิดความมั่นใจ และมีความพร้อมในการออกไปสู่สนามแข่งขันในเวทีโลก
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Strategic Partnership) โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม หรือ CLMV ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการค้าระหว่างกันของไทยกับ CLMV ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (2554-2558) ขยายตัวดีมากเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 12.6 ต่อปี โดยไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศนี้ประมาณร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล และวัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ พม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางการค้ากับไทยสูงมาก เนื่องจากภาคการผลิตของพม่ายังมีประสิทธิภาพไม่มากนักและพึ่งพาการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ และในสายตาของชาวพม่าสินค้าไทยมีคุณภาพ รูปลักษณ์สวยงาม และทันสมัย เมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างจีนและเวียดนาม อีกทั้งยังมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าระดับบน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกให้แก่ผู้ใช้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สินค้าไทยเป็นสินค้าลำดับต้นๆ ที่ครองใจผู้บริโภคชาวพม่ามาได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเมื่อประกอบกับการพัฒนาพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องแล้ว สินค้าไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายตลาดพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกในระยะยาว การค้าส่วนใหญ่เป็นการค้าชายแดนโดยผ่านด่านต่างๆ ทั้งจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว และจุดผ่อนปรน ที่ติดกับ 10 จังหวัดชายแดนของไทย นอกจากนั้นภายใต้กลยุทธ์ Strategic Partnership ไทยยังสามารถใช้พม่าเป็นประตูสู่อินเดีย และเอเชียใต้ได้ นับเป็นโอกาสที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปแสวงหาโอกาสการลงทุนและขยายช่องทางการค้า และบริการไปพม่าเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการกระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Strategic Partnership) โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า กัมพูชา ลาว และเวียดนาม หรือ CLMV ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยการค้าระหว่างกันของไทยกับ CLMV ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (2554-2558) ขยายตัวดีมากเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 12.6 ต่อปี โดยไทยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศนี้ประมาณร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล และวัสดุก่อสร้าง
ทั้งนี้ พม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางการค้ากับไทยสูงมาก เนื่องจากภาคการผลิตของพม่ายังมีประสิทธิภาพไม่มากนักและพึ่งพาการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ และในสายตาของชาวพม่าสินค้าไทยมีคุณภาพ รูปลักษณ์สวยงาม และทันสมัย เมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่างจีนและเวียดนาม อีกทั้งยังมองว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าระดับบน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกให้แก่ผู้ใช้ จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้สินค้าไทยเป็นสินค้าลำดับต้นๆ ที่ครองใจผู้บริโภคชาวพม่ามาได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเมื่อประกอบกับการพัฒนาพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องแล้ว สินค้าไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายตลาดพม่าได้เพิ่มขึ้นอีกในระยะยาว การค้าส่วนใหญ่เป็นการค้าชายแดนโดยผ่านด่านต่างๆ ทั้งจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว และจุดผ่อนปรน ที่ติดกับ 10 จังหวัดชายแดนของไทย นอกจากนั้นภายใต้กลยุทธ์ Strategic Partnership ไทยยังสามารถใช้พม่าเป็นประตูสู่อินเดีย และเอเชียใต้ได้ นับเป็นโอกาสที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปแสวงหาโอกาสการลงทุนและขยายช่องทางการค้า และบริการไปพม่าเพิ่มขึ้น