นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่า ยังไม่ทราบจะส่งร่าง พ.ร.ป.ฉบับใดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อน เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็น คาดว่าหลังจากจัดสัมมนารับความเห็นการจัดทำร่าง พ.ร.ป.วันที่ 28 กันยายนนี้ น่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น และเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมการการเลือกตั้งส่งมาให้ กรธ. เนื้อหาส่วนใหญ่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แต่มีบางเรื่องต้องนำไปปรับแก้ รวมถึงเรื่องการชี้มูลความผิดการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการให้ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดงและใบดำ ต้องรับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน ก่อนนำมาแยกประเภท หรือแบ่งโทษให้ชัดเจน เพื่อไม่ต้องอยู่กับดุลพินิจของศาลมากเกินไป
ส่วนข้อเสนอให้เพิ่มค่าสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และกรณีเปิดให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครเกินร้อยละ 50 สามารถดีเบตนำเสนอนโยบายต่อประชาชน จะตัดสิทธิพรรคเล็กหรือไม่ ประธาน กรธ. เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องเขียนไว้ใช้บังคับ เพราะแต่ละพรรคต้องนำเสนอวิสัยทัศน์ในการหาเสียงอยู่แล้ว รวมถึงการกำหนดให้ผู้สมัครแต่ละพรรค จัดทำป้ายหาเสียงติดได้ 200 จุดสำคัญใน 1 เขตเลือกตั้ง ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ต้องดูบริบทของสังคมไทย ถ้าดีจริงและทำให้ต้นทุนถูกลงพรรคเล็กก็จะลงสมัครได้
ส่วนข้อเสนอให้เพิ่มค่าสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และกรณีเปิดให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครเกินร้อยละ 50 สามารถดีเบตนำเสนอนโยบายต่อประชาชน จะตัดสิทธิพรรคเล็กหรือไม่ ประธาน กรธ. เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องเขียนไว้ใช้บังคับ เพราะแต่ละพรรคต้องนำเสนอวิสัยทัศน์ในการหาเสียงอยู่แล้ว รวมถึงการกำหนดให้ผู้สมัครแต่ละพรรค จัดทำป้ายหาเสียงติดได้ 200 จุดสำคัญใน 1 เขตเลือกตั้ง ซึ่งนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ต้องดูบริบทของสังคมไทย ถ้าดีจริงและทำให้ต้นทุนถูกลงพรรคเล็กก็จะลงสมัครได้