ดร.สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการโภชนาการ ในฐานะที่ปรึกษากรมอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นจะมีนักโภชนาการประจำโรงเรียนแห่งละ 1 คน เพื่อทำหน้าที่ดูแลอาหารให้มีคุณภาพตามหลักโภชนาการ เพื่อเสริมศักยภาพทางด้านร่างกาย และการเรียนการสอนของเด็กนักเรียน แต่ในส่วนของประเทศไทยตนได้พยายามขับเคลื่อนเรื่องนี้มานานขอให้มีนักโภชนาการอย่างน้อยอำเภอละ 1 คน หมุนเวียนไปให้ความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องตามโรงเรียนต่าง ๆ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ล่าสุดได้หารือกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงรายเพื่อดำเนินการเป็นโครงการนำร่องในการเอานักโภชนาการของโรงพยาบาลออกไปให้ความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องแก่แม่ครัว และครูที่โรงเรียน ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเดินหน้าได้ในเร็ว ๆ นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการอบรมนักโภชนาการของโรงพยาบาลกว่า 30 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องการสื่อสารการให้ความรู้ในเรื่องเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม ดร.สง่า เห็นว่ามีสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันอยู่ 6 ประการ คือ ให้มีนักโภชนาการประจำอยู่ทุกโรงเรียน บุคลากรของโรงเรียนต้องได้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพให้สามารถประกอบอาหารที่มีคุณภาพมากกว่านี้ แต่ละโรงเรียน แต่ละจังหวัดต้องประกาศเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งทำ เอาเรื่องการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเข้ามาในโรงเรียนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลต้องมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับโรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ มากกว่าการเป็นหน่วยงานกลางที่รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย และไปส่งต่อที่โรงเรียนเท่านั้น และดึงผู้ปกครองเข้ามาร่วมในการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนให้ได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานขนมกรุบกรอบต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันได้รับความร่วมมือน้อยมาก ในขณะที่การปรับเปลี่ยนตรงนี้จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังจากที่โรงเรียนและที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม ดร.สง่า เห็นว่ามีสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันอยู่ 6 ประการ คือ ให้มีนักโภชนาการประจำอยู่ทุกโรงเรียน บุคลากรของโรงเรียนต้องได้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพให้สามารถประกอบอาหารที่มีคุณภาพมากกว่านี้ แต่ละโรงเรียน แต่ละจังหวัดต้องประกาศเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งทำ เอาเรื่องการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเข้ามาในโรงเรียนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลต้องมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับโรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ มากกว่าการเป็นหน่วยงานกลางที่รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย และไปส่งต่อที่โรงเรียนเท่านั้น และดึงผู้ปกครองเข้ามาร่วมในการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนให้ได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานขนมกรุบกรอบต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันได้รับความร่วมมือน้อยมาก ในขณะที่การปรับเปลี่ยนตรงนี้จำเป็นต้องได้รับการปลูกฝังจากที่โรงเรียนและที่บ้าน