ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ตัวเลขการส่งออกไทยกลับมาหดตัวมากขึ้น หลังจากเคยติดลบน้อยลงในช่วง 3 ก่อนหน้านี้ การส่งออกของไทยในเดือน ก.ค. 2559 มีจำนวน 17,415 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบร้อยละ -4.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ยังรอการยืนยันตัวเลขอย่างเป็นทางการ) นับว่าหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน การหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าส่งออกสินค้าของไทยจะทำให้การหดตัวสูงถึงร้อยละ 8.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ยังคงเป็นปัจจัยหลักกดดันการส่งออกของไทยในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงประมาณการมูลค่าส่งออกสินค้าของไทยทั้งปี 2559 อยู่ที่ติดลบร้อยละ 2
สำหรับการส่งออกรถยนต์กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือน ในขณะที่สินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งมีสัญญาณการส่งออกที่ดีขึ้น การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ค. 2559 หดตัวในทุกรายสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ พลิกกลับมาหดตัวร้อยละ 6.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณส่งออกรถกระบะติดลบร้อยละ 14.9 เป็นผลจากการส่งออกไปยังตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลางและใต้หดตัว
นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรขั้นต้นยังคงหดตัวเช่นกัน โดยเฉพาะข้าว มูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ 35.1 เป็นผลจากกดดันจากปริมาณส่งออกที่ติดลบสูงถึงร้อยละ 13.7 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าประมงเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่ขยายตัวร้อยละ 29.5 เนื่องจากมีการฟื้นตัวของกำลังการผลิตกุ้งในประเทศและอานิสงส์จากการที่ไทยถูกปรับอันดับการค้ามนุษย์มาอยู่ที่ Tier 2 แบบเฝ้าระวัง ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์สินค้าประมงของไทย
สำหรับการส่งออกรถยนต์กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 3 เดือน ในขณะที่สินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งมีสัญญาณการส่งออกที่ดีขึ้น การส่งออกสินค้าในเดือน ก.ค. 2559 หดตัวในทุกรายสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ พลิกกลับมาหดตัวร้อยละ 6.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณส่งออกรถกระบะติดลบร้อยละ 14.9 เป็นผลจากการส่งออกไปยังตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลางและใต้หดตัว
นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรขั้นต้นยังคงหดตัวเช่นกัน โดยเฉพาะข้าว มูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ 35.1 เป็นผลจากกดดันจากปริมาณส่งออกที่ติดลบสูงถึงร้อยละ 13.7 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าประมงเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูปที่ขยายตัวร้อยละ 29.5 เนื่องจากมีการฟื้นตัวของกำลังการผลิตกุ้งในประเทศและอานิสงส์จากการที่ไทยถูกปรับอันดับการค้ามนุษย์มาอยู่ที่ Tier 2 แบบเฝ้าระวัง ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์สินค้าประมงของไทย