รศ.น.พ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เรื่อง ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมหารือถึงแนวคิดในการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีการอภิปรายถึงระบบปัจจุบัน ที่ทำให้เด็กต้องวิ่งรอกสอบหลายแห่ง รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเด็กที่มีฐานะดีจะมีโอกาสสูงกว่าเด็กที่มีฐานะด้อยกว่า โดยที่ประชุมจึงมีข้อสรุปว่า จะต้องมีการปรับระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2561 เนื่องจากปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยได้มีการประกาศปฏิทินการจัดสอบไปแล้ว โดยระบบใหม่นี้วางแผนว่าจะจัดช่วงเวลาการสอบเพื่อให้เด็กนำคะแนนไปใช้ในการเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา หลังเด็กได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว ประมาณกลางเดือนมีนาคมและหลังจากนั้นจะเปิดมหกรรมการสอบ ทั้งการสอบวิชาความถันทั่วไป หรือ GAT) การสอบวิชาความถนัดทางวิชาการหรือวิชาชีพ หรือ PAT และการสอบ วิชาสามัญ 9 วิชา จะใช้ห้วงเวลาในการจัดสอบวิชาต่าง ๆ ประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน โดยที่จะไม่ยอมให้มหาวิทยาลัยมีการเปิดสอบรับตรงนอกห้วงเวลานี้ เพื่อลดปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ
น.พ.กำจร กล่าวต่อว่า หลังจากเด็กทราบคะแนนของตนเองแล้ว จะเปิดให้เด็กเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียนได้ 4 อันดับ เมื่อเด็กเลือกแล้ว มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลาง เพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 2 รอบ โดยรอบแรก เมื่อเด็กยื่นคะแนนไปยังมหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยก็จะส่งชื่อเด็กที่ผ่านการคัดเลือก เข้าระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ เพื่อแจ้งกลับไปยังเด็กว่าได้รับการคัดเลือกกี่แห่ง และจะเลือกเรียนตามลำดับที่สอบได้หรือไม่ ซึ่งหากเด็กยังไม่พอใจในคณะหรือสาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์รอบที่ 2 ได้ ทั้งนี้ หากเด็กเลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ในรอบแรกแล้ว เด็กก็จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเคลียริ่งเฮ้าส์รอบที่ 2 ทันที และหากเดินหน้าใช้ระบบรับตรงกลางร่วมกัน จะไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากที่ให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลที่ดีมาชี้แจงให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการรับทราบ
น.พ.กำจร กล่าวต่อว่า หลังจากเด็กทราบคะแนนของตนเองแล้ว จะเปิดให้เด็กเลือกสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียนได้ 4 อันดับ เมื่อเด็กเลือกแล้ว มหาวิทยาลัยจะคัดเลือกเด็กตามลำดับคะแนน และแจ้งผลการคัดเลือกกลับมาที่ส่วนกลาง เพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 2 รอบ โดยรอบแรก เมื่อเด็กยื่นคะแนนไปยังมหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยก็จะส่งชื่อเด็กที่ผ่านการคัดเลือก เข้าระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ เพื่อแจ้งกลับไปยังเด็กว่าได้รับการคัดเลือกกี่แห่ง และจะเลือกเรียนตามลำดับที่สอบได้หรือไม่ ซึ่งหากเด็กยังไม่พอใจในคณะหรือสาขาที่สอบได้ ก็สามารถนำคะแนนไปเข้าในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์รอบที่ 2 ได้ ทั้งนี้ หากเด็กเลือกเข้าเรียนในคณะที่สอบได้ในรอบแรกแล้ว เด็กก็จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเคลียริ่งเฮ้าส์รอบที่ 2 ทันที และหากเดินหน้าใช้ระบบรับตรงกลางร่วมกัน จะไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยไปเปิดรับตรงเอง หากที่ให้เปิดรับก็ต้องมีเหตุผลที่ดีมาชี้แจงให้รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการรับทราบ