นายภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันข้าวนาปีแล้วประมาณ 9.1 ล้านไร่ โดยสาเหตุหลักปีนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการน้อยนั้นมาจากการที่เกษตรกรขาดความรู้และความเข้าใจ ไม่ทราบรายละเอียดโครงการ ประกอบกับไม่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง เพราะพื้นที่การเกษตรในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างในเรื่องภูมิศาสตร์ ขณะเดียวกันเกษตรกรมีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โดยคาดว่า ภายใน วันที่ 30 สิงหาคม นี้จะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสูงขึ้น เนื่องจาก ธ.ก.ส. เร่งประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และสำหรับพื้นที่ภาคใต้ยังสามารถซื้อกรมธรรม์นี้ได้จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2559
ทั้งนี้ มองว่า กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปี 2559 ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัย 100 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษี) โดยรัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 60 บาทต่อไร่ และเกษตรกรชำระเบี้ยประกันภัย 40 บาทต่อไร่นั้น ถือว่ามีความเหมาะสมและสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเงินสำหรับการประกอบอาชีพได้ แต่ในระยะยาว รัฐบาลควรช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีการทำการเกษตรแบบลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากจะช่วยลดงบประมาณในการเยียวยาเกษตรกรลงแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนด้วย
พร้อมแนะภาครัฐ ควรมีการพิจารณาขยายประเภทของสินค้าเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น เพื่อให้สามารถประกันภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติได้ด้วย และเดินหน้าทำความความเข้าใจกับเกษตรกรก่อนการซื้อประกัน และการเรียกร้องสิทธิประกัน เพื่อรับค่าสินไหมทดแทนนั้น โดยต้องพิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมและการส่งเสริมการตลาดให้สามารถเข้าถึงให้ง่าย พร้อมมองว่า การที่รัฐบาลไม่เข้าไปอุดหนุน (subsidy) เพื่อจูงใจให้เกษตรกรซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลทำให้โครงการนี้สามารถขับเคลื่อนไปอย่างยั่งยืน โดยที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการ
ทั้งนี้ มองว่า กรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปี 2559 ที่มีอัตราเบี้ยประกันภัย 100 บาทต่อไร่ (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษี) โดยรัฐบาลจะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย 60 บาทต่อไร่ และเกษตรกรชำระเบี้ยประกันภัย 40 บาทต่อไร่นั้น ถือว่ามีความเหมาะสมและสามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเงินสำหรับการประกอบอาชีพได้ แต่ในระยะยาว รัฐบาลควรช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีการทำการเกษตรแบบลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากจะช่วยลดงบประมาณในการเยียวยาเกษตรกรลงแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนด้วย
พร้อมแนะภาครัฐ ควรมีการพิจารณาขยายประเภทของสินค้าเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น เพื่อให้สามารถประกันภัยความเสี่ยงจากธรรมชาติได้ด้วย และเดินหน้าทำความความเข้าใจกับเกษตรกรก่อนการซื้อประกัน และการเรียกร้องสิทธิประกัน เพื่อรับค่าสินไหมทดแทนนั้น โดยต้องพิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมและการส่งเสริมการตลาดให้สามารถเข้าถึงให้ง่าย พร้อมมองว่า การที่รัฐบาลไม่เข้าไปอุดหนุน (subsidy) เพื่อจูงใจให้เกษตรกรซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลทำให้โครงการนี้สามารถขับเคลื่อนไปอย่างยั่งยืน โดยที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ การประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการ