นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวระหว่างเปิดเวทีความร่วมมือวางกรอบการใช้โซเชียลมีเดียของบุคลากรด้านสุขภาพ และสาธารณสุข ป้องกันการโพสต์ แชร์ เปลี่ยนโลกออนไลน์ให้ปลอดการละเมิดสิทธิ์สุขภาพว่า ตัวเลขการสำรวจเมื่อปี 2557 ไตรมาสที่ 2 มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ เข้าอินเทอร์เน็ตได้ในประเทศไทยมีถึง 94 ล้านเครื่อง และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเร็ว ทำให้ทุกคนสามารถเป็นผู้สื่อสารได้ง่าย และเร็วแต่ไม่มีการกลั่นกรอง จึงเกิดปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ เช่น การโพสต์ภาพผู้ป่วยประกอบการขอรับบริจาคเงิน เลือด และอวัยวะ อาจละเมิดสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว ผิดตามมาตรา 7 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ดังนั้นก่อนจะโพสต์อะไร ต้องมีสามัญสำนึกและคำนึงถึงสิทธิ์มนุษยชนให้มาก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สช.ได้จัดทำร่างแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สุขภาพ เสนอต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ สช. เพื่อให้นำมาสู่การบังคับใช้ได้ในปลายปีนี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สช.ได้จัดทำร่างแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สุขภาพ เสนอต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ สช. เพื่อให้นำมาสู่การบังคับใช้ได้ในปลายปีนี้