พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ กนพ.ว่า ที่ประชุมได้ทบทวนและประเมินผลการทำงาน 2 ปีที่ผ่านมาถึงศักยภาพของเขตเศรฐกิจพิเศษในแต่ละพื้นที่ โดยยืนยันว่า จะไม่มีการยกเลิกพื้นที่เขตเศรษฐกิจใดๆ แน่นอน แต่จะเน้นการดำเนินการในพื้นที่ที่มีศักภาพก่อนได้แก่ จ.เชียงราย ตาก สระแก้ว และ จ.สงขลา ส่วนพื้นที่อื่นต้องพิจารณาถึงกิจกรรมที่เหมาะสมพร้อมทำความเข้าใจกับ ประชาชนว่าไม่มีการไล่คนออกจากพื้นที่ นอกจากพื้นที่ที่ต้องมีการก่อสร้าง โดยจะเยียวยาอย่างเหมาะสม จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อคำปลุกปั่น และขออย่าโจมตีรัฐบาลว่าทำแล้วไม่มีคนมาลงทุน เพราะหากไม่มีการลงทุนวันนี้เชื่อว่าจะมีการลงทุนในอนาคต เพราะมีพื้นที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อาจไม่พร้อมจึงมีการลงทุนไม่มากนัก
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สศช.ไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังจากการประชุมครั้งนี้ได้รับทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาพื้นที่ จนเห็นว่าปัจจุบันมีพื้นที่ใดบ้างที่มีเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนมากเป็นพิเศษ โดยอาจทบทวนมาตรการส่งเสริม รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ และคำขอต่างๆ ว่าจะมอบให้ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีคนสนใจลงทุนก็ให้ไปดูปัญหาแล้วเร่งแก้ไข เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนในทันที
สำหรับตัวเลขการลงทุนของเอกชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 พื้นที่ นั้น ล่าสุดมีเอกชนได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ใน 8 พื้นที่แล้ว คือ ตาก ตราด หนองคาย เชียงราย สงขลา สระแก้ว กาญจนบุรี และมุกดาหาร จำนวน 39 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 7,200 ล้านบาท โดยจังหวัดตากมีผู้ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 21 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ส่วนที่นครพนม และนราธิวาส ยังไม่มีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริม ขณะเดียวกันยังมีเอกชนอีกบางส่วนที่ไม่ยื่นขอรับการส่งเสริมกับบีโอไอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็ก ที่ขยายกิจการของตัวเอง
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สศช.ไปคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ หลังจากการประชุมครั้งนี้ได้รับทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาพื้นที่ จนเห็นว่าปัจจุบันมีพื้นที่ใดบ้างที่มีเอกชนสนใจเข้ามาลงทุนมากเป็นพิเศษ โดยอาจทบทวนมาตรการส่งเสริม รวมไปถึงสิทธิประโยชน์ และคำขอต่างๆ ว่าจะมอบให้ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีคนสนใจลงทุนก็ให้ไปดูปัญหาแล้วเร่งแก้ไข เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนในทันที
สำหรับตัวเลขการลงทุนของเอกชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 พื้นที่ นั้น ล่าสุดมีเอกชนได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ใน 8 พื้นที่แล้ว คือ ตาก ตราด หนองคาย เชียงราย สงขลา สระแก้ว กาญจนบุรี และมุกดาหาร จำนวน 39 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 7,200 ล้านบาท โดยจังหวัดตากมีผู้ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 21 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นกิจการประเภทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ส่วนที่นครพนม และนราธิวาส ยังไม่มีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริม ขณะเดียวกันยังมีเอกชนอีกบางส่วนที่ไม่ยื่นขอรับการส่งเสริมกับบีโอไอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็ก ที่ขยายกิจการของตัวเอง