นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้จะพบเด็กเล็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ได้บ่อยครั้ง ซึ่งโรคนี้เกิดได้ประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน เพราะอากาศที่เย็นและชื้น จะเอื้อต่อการระบาดของโรคได้ง่าย โรคนี้จะเกิดบ่อยในเด็กทารก และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ประกอบกับเด็กๆ อยู่ในสถานที่ที่รวมกันจำนวนมาก เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล รวมถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งอาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่กันได้ง่าย
จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-11 กรกฎาคม 2559 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 31,052 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยผู้ป่วยเพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเกือบ 6,000 ราย เฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีผู้ป่วยรวม 27,840 ราย หรือร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในปี 2558 ตลอดทั้งปีมีผู้ป่วย 41,392 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โรคนี้ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก รวมถึงสวนสนุกในห้างสรรพสินค้า ส่วนการติดต่อเกิดจากการได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในจากอุจจาระ หรือฝอยละออง น้ำมูกน้ำลาย น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก โดยหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น โดยจะปรากฏอาการดังกล่าวอยู่ 3-5 วัน แล้วหายได้เอง หรือมีอาการไข้ร่วมกับตุ่มพองเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก โดยตุ่มแผลในปากนั้น บริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดงต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บปาก
นายแพทย์อำนวย กล่าวอีกว่า ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก ดำเนินกาตรวจคัดกรองเด็กในตอนเช้าและลงบันทึกทุกวัน หากพบว่ามีเด็กป่วย กรมควบคุมโรคขอแนะนำให้ดำเนินตามแนวทางป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ดังนี้ 1.แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ 2.แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ 3.แจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้านและพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา และ 4.ทําความสะอาดอุปกรณ์ ของใช้ ของเล่นเป็นประจําทุกสัปดาห์และทุกครั้งที่มีเด็กป่วย หากพบอีกว่าในห้องเรียนเดียวกันมีเด็กป่วยมากกว่า 2 รายใน 1 สัปดาห์ ควรพิจารณาปิดห้องเรียนนั้น และดำเนินการตามแนวทางป้องกันควบคุมโรค หรือหากพบเด็กป่วยมากกว่า 1 ห้องเรียน ให้พิจารณาปิดสถานที่ดังกล่าวชั่วคราว อย่างน้อย 5 วันทำการ และดำเนินการตามแนวทางป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้น
จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-11 กรกฎาคม 2559 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 31,052 ราย และเสียชีวิต 1 ราย โดยผู้ป่วยเพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเกือบ 6,000 ราย เฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีผู้ป่วยรวม 27,840 ราย หรือร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ในปี 2558 ตลอดทั้งปีมีผู้ป่วย 41,392 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โรคนี้ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก รวมถึงสวนสนุกในห้างสรรพสินค้า ส่วนการติดต่อเกิดจากการได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในจากอุจจาระ หรือฝอยละออง น้ำมูกน้ำลาย น้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก โดยหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น โดยจะปรากฏอาการดังกล่าวอยู่ 3-5 วัน แล้วหายได้เอง หรือมีอาการไข้ร่วมกับตุ่มพองเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก โดยตุ่มแผลในปากนั้น บริเวณรอบๆ จะอักเสบและแดงต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บปาก
นายแพทย์อำนวย กล่าวอีกว่า ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก ดำเนินกาตรวจคัดกรองเด็กในตอนเช้าและลงบันทึกทุกวัน หากพบว่ามีเด็กป่วย กรมควบคุมโรคขอแนะนำให้ดำเนินตามแนวทางป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ดังนี้ 1.แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ 2.แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ 3.แจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้านและพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา และ 4.ทําความสะอาดอุปกรณ์ ของใช้ ของเล่นเป็นประจําทุกสัปดาห์และทุกครั้งที่มีเด็กป่วย หากพบอีกว่าในห้องเรียนเดียวกันมีเด็กป่วยมากกว่า 2 รายใน 1 สัปดาห์ ควรพิจารณาปิดห้องเรียนนั้น และดำเนินการตามแนวทางป้องกันควบคุมโรค หรือหากพบเด็กป่วยมากกว่า 1 ห้องเรียน ให้พิจารณาปิดสถานที่ดังกล่าวชั่วคราว อย่างน้อย 5 วันทำการ และดำเนินการตามแนวทางป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้น