เทเรซา เมย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของอังกฤษแล้วเมื่อวันพุธ (13 ก.ค.) โดยภารกิจหนักอึ้งของเธอคือการเจรจากระบวนการถอนตัวจากสหภาพยุโรป ท่ามกลางการกดดันจากบรรดาผู้นำอียูในบรัสเซลส์ ตลอดจนการประสานรอยร้าวภายในพรรคคอนเซอร์เวทีฟของเธอ ซึ่งดูจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เธอแต่งตั้งเหล่าผู้สนับสนุน “เบร็กซิต” ในตำแหน่งสำคัญทันที ในจำนวนนี้รวมถึงบอริส จอห์นสัน อดีตพ่อเมืองลอนดอน
เมย์ อดีตรัฐมนตรีมหาดไทยวัย 59 ปี กล่าวภายหลังได้รับพระบรมราชโองการจากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แต่งตั้งให้เธอเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า จะส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมและสร้างอนาคตใหม่ให้อังกฤษ หลังผลประชามติสุดช็อกในการถอนตัวจากสหภาพยุโรป (อียู) เมื่อเดือนที่แล้ว อันนำมาซึ่งการประกาศลาออกของเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีคนก่อนที่เป็นผู้นำการรณรงค์ให้อังกฤษเป็นสมาชิกอียูต่อ
เมย์ถูกกดดันแทบจะในทันทีจากพวกผู้นำอียูให้อังกฤษแจ้งอย่างเป็นทางการเพื่อเริ่มต้นกระบวนการถอนตัวที่กินระยะเวลาสองปี เริ่มจากโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรีอียู ที่แสดงความยินดีต่อเมย์และสำทับว่า ตั้งตารอความสัมพันธ์ที่จะงอกงามกับอดีตรัฐมนตรีมหาดไทยของอังกฤษผู้นี้
ตามมาด้วยฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และมาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ที่เรียกร้องให้เมย์เริ่มต้นการเจรจาถอนตัวโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ผู้นำใหม่ของอังกฤษบอกกับนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศส ระหว่างหารือทางโทรศัพท์เมื่อวันพุธ (13) ว่า อังกฤษต้องการเวลาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจา
ขณะเดียวกัน หลังจากเข้ารับตำแหน่งราวหนึ่งชั่วโมง เมย์ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีบางส่วน เช่น โยกฟิลิป แฮมมอนด์ จากรัฐมนตรีต่างประเทศไปคุมกระทรวงการคลัง และเปลี่ยนหน้าที่แอมเบอร์ รัดด์ จากรัฐมนตรีพลังงาน เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย
แต่ที่สร้างความประหลาดใจครั้งใหญ่คือการแต่งตั้งจอห์นสัน แกนนำฝ่ายสนับสนุนเบร็กซิตและเคยเป็นคู่แข่งสำคัญในการชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
ผู้รณรงค์ให้อังกฤษ “ถอนตัว” ที่ได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ยังรวมถึงเดวิด เดวิส ในตำแหน่งรัฐมนตรีดูแลกระบวนการถอนตัวจากอียู และเลียม ฟ็อกซ์ ที่จะรับผิดชอบการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นตำแหน่งใหม่
เมย์ อดีตรัฐมนตรีมหาดไทยวัย 59 ปี กล่าวภายหลังได้รับพระบรมราชโองการจากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แต่งตั้งให้เธอเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า จะส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมและสร้างอนาคตใหม่ให้อังกฤษ หลังผลประชามติสุดช็อกในการถอนตัวจากสหภาพยุโรป (อียู) เมื่อเดือนที่แล้ว อันนำมาซึ่งการประกาศลาออกของเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีคนก่อนที่เป็นผู้นำการรณรงค์ให้อังกฤษเป็นสมาชิกอียูต่อ
เมย์ถูกกดดันแทบจะในทันทีจากพวกผู้นำอียูให้อังกฤษแจ้งอย่างเป็นทางการเพื่อเริ่มต้นกระบวนการถอนตัวที่กินระยะเวลาสองปี เริ่มจากโดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะมนตรีอียู ที่แสดงความยินดีต่อเมย์และสำทับว่า ตั้งตารอความสัมพันธ์ที่จะงอกงามกับอดีตรัฐมนตรีมหาดไทยของอังกฤษผู้นี้
ตามมาด้วยฌอง-โคลด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และมาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ที่เรียกร้องให้เมย์เริ่มต้นการเจรจาถอนตัวโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ผู้นำใหม่ของอังกฤษบอกกับนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ของฝรั่งเศส ระหว่างหารือทางโทรศัพท์เมื่อวันพุธ (13) ว่า อังกฤษต้องการเวลาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจา
ขณะเดียวกัน หลังจากเข้ารับตำแหน่งราวหนึ่งชั่วโมง เมย์ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีบางส่วน เช่น โยกฟิลิป แฮมมอนด์ จากรัฐมนตรีต่างประเทศไปคุมกระทรวงการคลัง และเปลี่ยนหน้าที่แอมเบอร์ รัดด์ จากรัฐมนตรีพลังงาน เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย
แต่ที่สร้างความประหลาดใจครั้งใหญ่คือการแต่งตั้งจอห์นสัน แกนนำฝ่ายสนับสนุนเบร็กซิตและเคยเป็นคู่แข่งสำคัญในการชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
ผู้รณรงค์ให้อังกฤษ “ถอนตัว” ที่ได้รับการแต่งตั้งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ยังรวมถึงเดวิด เดวิส ในตำแหน่งรัฐมนตรีดูแลกระบวนการถอนตัวจากอียู และเลียม ฟ็อกซ์ ที่จะรับผิดชอบการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นตำแหน่งใหม่