เมื่อวานนี้(12 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง การร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่า ครม. เห็นชอบตามที่ นาย มหรรณพ เดชวิทักษ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอปรับแก้กฎหมาย โดยไม่ต้องการให้จำเลยที่หนีคดี ในระหว่างคดีอยู่ในชั้นศาล สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งจำเลยจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล หากไม่แสดงตนศาลจะไม่รับพิจารณาอุทธรณ์หรือฎีกา โดย ครม. เห็นชอบเรื่องดังกล่าวตามที่นายมหรรณพได้เสนอมา เพราะตรงกับนโยบายของรัฐที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมให้กับกฎหมาย
ทั้งนี้เดิมมาตรา 182 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่ากรณีใดที่ศาลออกหมายจับแล้ว ไม่ได้ตัวจำเลยมาภายใน 1 เดือน ให้ศาลสามารถอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ และถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ซึ่งจำเลยก็จะสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ โดยมอบให้ทนายของตนเป็นผู้รับมอบอำนาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา โดยนายมหรรณพมองว่าไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพิจารณาคดี เพราะจำเลยหนีคดีแต่ยังใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งดูไม่เหมาะ จึงขอให้ออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อไม่ให้คนที่คิดจะหนีศาลสามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้
ทั้งนี้เดิมมาตรา 182 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาระบุว่ากรณีใดที่ศาลออกหมายจับแล้ว ไม่ได้ตัวจำเลยมาภายใน 1 เดือน ให้ศาลสามารถอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ และถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ซึ่งจำเลยก็จะสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ โดยมอบให้ทนายของตนเป็นผู้รับมอบอำนาจยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา โดยนายมหรรณพมองว่าไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการพิจารณาคดี เพราะจำเลยหนีคดีแต่ยังใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งดูไม่เหมาะ จึงขอให้ออกกฎหมายดังกล่าวเพื่อไม่ให้คนที่คิดจะหนีศาลสามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้