นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนมักพบปัญหาพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เกิดการสูญเสียมวลดินจากการชะล้างพังทลาย ทำให้สูญเสียหน้าดินที่มีธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุในดิน ทำลายโครงสร้างของดิน ทำให้ความอุดมสมบูรณ์และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินลดลง และอาจส่งผลให้เกิดดินถล่มได้เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากเป็นปัจจัยหลักมากระตุ้น ซึ่งปัจจุบันการเกิดดินถล่มในประเทศไทยมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความถี่มากขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะรูปแบบของฝนเปลี่ยนแปลงไป เช่น ในช่วงหน้าแล้งมีปริมาณฝนตกน้อยลง ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีการตกอยู่บริเวณเดิมเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยขาดการจัดการพื้นที่ที่ดี การเปลี่ยนแปลงพืชปกคลุมดินไปเป็นพืชเศรษฐกิจ พืชเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และการปลูกยางพารา โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่เทือกเขาสูง หรือพื้นที่ลาดชันเชิงเขา
ด้านนายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินงานในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาดินถล่ม ด้วยการจัดทำแผนที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม และหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงดินถล่มโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวในการป้องกันพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม พร้อมทั้งเพื่อป้องกันและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำให้คงสภาพนิเวศน์ที่สมบูรณ์
ด้านนายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินงานในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาดินถล่ม ด้วยการจัดทำแผนที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม และหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เสี่ยงดินถล่มโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวในการป้องกันพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม พร้อมทั้งเพื่อป้องกันและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ต้นน้ำให้คงสภาพนิเวศน์ที่สมบูรณ์