นายธีรพล ขุนเมือง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนเองและนายเสข วรรณเมธี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ขอยืนยันว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวในโลกโซเชียลมีเดียถึงข้อเรียกร้อง ขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 5 ข้อ และข้อเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ด้านแรงงาน โดยนำเสนอว่าเป็นข้อเรียกร้องของทางการเมียนมานั้น ไม่ได้เป็นข้อเรียกร้องของทางการเมียนมาแต่อย่างใด
โดยระหว่างที่ นาง ออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เดินทางมาเยือน ประเทศไทย ตามคำเชิญของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย. 59 ซึ่งทั้งสองฝ่าย ได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์ และลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ
โดยฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน เพื่อป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ ฉบับที่สองเป็นบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน เพื่อป้องกันและปราบปรามการข้ามแดนผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์เพื่อการจ้างงาน ซึ่งการลงนามทั้งสองฉบับแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกัน แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานให้เป็นไปตามหลักสากล
ด้านนายเสข กล่าวว่า ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนาง ออง ซาน ซูจี มีประเด็นหลัก 3 ด้าน คือ การคุ้มครองแรงงานเมียนมาในประเทศไทย ซึ่งไทยได้ใกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงข้อเรียกร้อง 5 ข้อของกลุ่มเอ็นจีโอห้การดูแลสิทธิแรงงานตามกฎหมาย ด้านที่สอง คือความร่วมมือด้านการพัฒนา เน้นช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านที่สามเป็นประเด็นเศรษฐกิจ โดยเห็นพ้องเพิ่มความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีกับประเทศที่สาม
ส่วนกระแสข่าวข้อเรียกร้องของกลุ่มเอ็นจีโอและข้อเรียกร้องอื่นๆ เป็นเพียงข้อเรียกร้องที่เสนอผ่านทางสื่อเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเรียกร้องของทางการเมียนมา และสิ่งสำคัญที่สุดในความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งสองประเทศมุ่งเน้นการส่งเสริมการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฏหมายด้วย
โดยระหว่างที่ นาง ออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เดินทางมาเยือน ประเทศไทย ตามคำเชิญของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย. 59 ซึ่งทั้งสองฝ่าย ได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์ และลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ
โดยฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน เพื่อป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ ฉบับที่สองเป็นบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน เพื่อป้องกันและปราบปรามการข้ามแดนผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์เพื่อการจ้างงาน ซึ่งการลงนามทั้งสองฉบับแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกัน แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานให้เป็นไปตามหลักสากล
ด้านนายเสข กล่าวว่า ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนาง ออง ซาน ซูจี มีประเด็นหลัก 3 ด้าน คือ การคุ้มครองแรงงานเมียนมาในประเทศไทย ซึ่งไทยได้ใกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงข้อเรียกร้อง 5 ข้อของกลุ่มเอ็นจีโอห้การดูแลสิทธิแรงงานตามกฎหมาย ด้านที่สอง คือความร่วมมือด้านการพัฒนา เน้นช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านที่สามเป็นประเด็นเศรษฐกิจ โดยเห็นพ้องเพิ่มความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีกับประเทศที่สาม
ส่วนกระแสข่าวข้อเรียกร้องของกลุ่มเอ็นจีโอและข้อเรียกร้องอื่นๆ เป็นเพียงข้อเรียกร้องที่เสนอผ่านทางสื่อเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเรียกร้องของทางการเมียนมา และสิ่งสำคัญที่สุดในความร่วมมือด้านแรงงาน ทั้งสองประเทศมุ่งเน้นการส่งเสริมการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฏหมายด้วย