นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากติดตามข่าวที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้ขอออกหมายค้นเพื่อเข้าไปในวัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.นั้น การขอหมายค้นดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ดีเอสไอได้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องให้พนักงานอัยการแล้ว กล่าวคือส่งสำนวนพร้อมความเห็น เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. และหลังจากนั้นในวันที่ 15 มิ.ย.ก็ขอออกหมายค้นตามมาอีก ทั้งที่อำนาจสอบสวนน่าจะหมดลงแล้ว ต่อไปเป็นอำนาจของพนักงานอัยการเท่านั้น แต่สำหรับผู้ต้องหายังมีสิทธิที่จะร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการได้ต่อไป กรณีที่เกิดขึ้นเมื่อไปตรวจสอบกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 766/2546 ซึ่งมีความเห็นไว้ว่าพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้แก่พนักงานอัยการแล้ว เพราะพนักงานสอบสวนหมดอำนาจที่จะทำการสอบสวนคดีต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2481 และ 104/2481 ที่วางหลักไว้ว่า “เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จ และลงสำนวนให้พนักงานอัยการแล้ว ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการสอบสวนต่อไป...” และเมื่อตรวจสอบกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 66 ที่ระบุไว้ว่า “เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว และมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องตามมาตรา 140 มาตรา 141 หรือมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่งไปพร้อมกับสำนวนยังพนักงานอัยการแล้ว พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมภายหลังได้อีก”
ทั้งนี้ เมื่อนำข้อเท็จจริงตามวันเวลาในการส่งสำนวนกับวันที่ออกหมายค้นมาพิจารณา ก็มีประเด็นที่ควรพิจารณาตามมาว่า การขอออกหมายค้นของดีเอสไอดังกล่าว อาจจะมีปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาได้ จึงเห็นว่า ควรทำหนังสือร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบต่อไป โดยจะไปยื่นหนังสือร้องด้วยตนเองที่ ป.ป.ช. ในวันจันทร์ที่ 20 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
นอกจากนี้ ยังมีคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2481 และ 104/2481 ที่วางหลักไว้ว่า “เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จ และลงสำนวนให้พนักงานอัยการแล้ว ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการสอบสวนต่อไป...” และเมื่อตรวจสอบกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 66 ที่ระบุไว้ว่า “เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว และมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องตามมาตรา 140 มาตรา 141 หรือมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่งไปพร้อมกับสำนวนยังพนักงานอัยการแล้ว พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมภายหลังได้อีก”
ทั้งนี้ เมื่อนำข้อเท็จจริงตามวันเวลาในการส่งสำนวนกับวันที่ออกหมายค้นมาพิจารณา ก็มีประเด็นที่ควรพิจารณาตามมาว่า การขอออกหมายค้นของดีเอสไอดังกล่าว อาจจะมีปัญหาความไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาได้ จึงเห็นว่า ควรทำหนังสือร้องต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบต่อไป โดยจะไปยื่นหนังสือร้องด้วยตนเองที่ ป.ป.ช. ในวันจันทร์ที่ 20 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น.