ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิมในวันพุธ(15มิ.ย.) สืบเนื่องจากความกังวลว่าตลาดโลกอาจเกิดความยุ่งเหยิงท่ามกลางเค้ารางว่าชาวอังกฤษอาจลงประชามติเลือกพ้นจากการเป็นสมาชิกของยุโรป(Brexit)
แม้มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดบอกว่าประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน ซึ่งจะตัดสินชะตาว่าอังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เฟดคงนโยบายทางการเงินตามเดิม
"ชัดเจนว่า มันจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออังกฤษและต่อยุโรป" นางเยลเยน กล่าวระหว่างแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วันของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) "มันคือการตัดสินใจที่ก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาวะทางการเงินในตลาดการเงินโลก และมันอาจก่อผลกระทบต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯเช่นกัน"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ลงมติตามความคาดหมายด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม อยู่ที่ 0.25%ถึง0.50%
ท่ามกลางความไม่แน่นอนในสถานการณ์ระหว่างประเทศและยอดการจ้างงานที่หยุดชะงัก คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกา จาก 2.2%เหลือ 2.0% ในปีนี้และจากเดิม 2.1% เหลือ 2.0%เช่นกันในปี 2017
แม้มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดบอกว่าประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน ซึ่งจะตัดสินชะตาว่าอังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เฟดคงนโยบายทางการเงินตามเดิม
"ชัดเจนว่า มันจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออังกฤษและต่อยุโรป" นางเยลเยน กล่าวระหว่างแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุม 2 วันของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) "มันคือการตัดสินใจที่ก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสภาวะทางการเงินในตลาดการเงินโลก และมันอาจก่อผลกระทบต่อแนวโน้มทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯเช่นกัน"
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ ลงมติตามความคาดหมายด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม อยู่ที่ 0.25%ถึง0.50%
ท่ามกลางความไม่แน่นอนในสถานการณ์ระหว่างประเทศและยอดการจ้างงานที่หยุดชะงัก คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของอเมริกา จาก 2.2%เหลือ 2.0% ในปีนี้และจากเดิม 2.1% เหลือ 2.0%เช่นกันในปี 2017