สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (3 มิ.ย.) หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานอ่อนแอ ซึ่งจุดกระแสวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ รวมไปถึงอุปสงค์พลังงาน นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้คาดว่าผลผลิตน้ำมันดิบจะเพิ่มสูงขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนก.ค. ปรับตัวลง 55 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 48.62 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ ราคาร่วงลงไป 1.4% หลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 3 สัปดาห์
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 49.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ สัญญาปรับตัวลง 0.6%
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 38,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2553 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลง 0.3% สู่ระดับ 4.7% หลังจากอยู่ที่ 5.0% ในเดือนเม.ย.
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.9%
สำหรับภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันวันศุกร์นั้น ในช่วงแรกราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ โดยราคาดีดขึ้นไปเคลื่อนไหวเหนือ 49 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันกลับมาปรับตัวลดลง เพราะความกังวลเรื่องอุปสงค์ และรายงานข้อมูลแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น
ตัวเลขจ้างงานที่น่าผิดหวังทำให้มีการมองกันว่าโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้นั้นลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยส่วนใหญ่แล้ว ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะเป็นแรงหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายกันในสกุลเงินดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอดังกล่าวก็ทำให้เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจประสบภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันได้
ขณะที่เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 9 แท่นในสัปดาห์นี้ สู่ระดับ 325 แท่น ขณะที่จำนวนแท่นขุดเจาะทั้งหมด รวมทั้งน้ำมันและก๊าซ เพิ่มขึ้น 4 แท่น มาอยู่ที่ 408 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบหลายเดือน
ทั้งนี้ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าอุปทานน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมัน
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากผลการประชุมโอเปกเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการควบคุมราคาและปริมาณน้ำมันในตลาด
แถลงการณ์หลังการประชุมโอเปกระบุแต่เพียงว่า ประเทศสมาชิกโอเปกจะใช้ความพยายามต่อไปเพื่อทำให้ตลาดมีเสถียรภาพ โดยไม่ได้ระบุถึงคำมั่นสัญญาที่เป็นรูปธรรม รวมถึงไม่มีการกล่าวถึงการกำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน
รายงานข่าวระบุว่า สมาชิกโอเปกจากอ่าวอาหรับ ซึ่งรวมถึงซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีแนวความคิดที่จะให้สมาชิกร่วมมือกันควบคุมการผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ดี อิหร่านได้แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดที่จะมีการกำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน เหมือนกับที่เคยคัดค้านในการประชุมหลายครั้งก่อนหน้านี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนก.ค. ปรับตัวลง 55 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 48.62 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับตลอดสัปดาห์ ราคาร่วงลงไป 1.4% หลังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 3 สัปดาห์
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 49.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ สัญญาปรับตัวลง 0.6%
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 38,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2553 ขณะที่อัตราการว่างงานลดลง 0.3% สู่ระดับ 4.7% หลังจากอยู่ที่ 5.0% ในเดือนเม.ย.
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 162,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 4.9%
สำหรับภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันวันศุกร์นั้น ในช่วงแรกราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ โดยราคาดีดขึ้นไปเคลื่อนไหวเหนือ 49 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันกลับมาปรับตัวลดลง เพราะความกังวลเรื่องอุปสงค์ และรายงานข้อมูลแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่ปรับตัวขึ้น
ตัวเลขจ้างงานที่น่าผิดหวังทำให้มีการมองกันว่าโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้นั้นลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยส่วนใหญ่แล้ว ดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจะเป็นแรงหนุนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายกันในสกุลเงินดอลลาร์ แต่ในขณะเดียวกันข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอดังกล่าวก็ทำให้เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจประสบภาวะถดถอยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันได้
ขณะที่เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบที่ใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้น 9 แท่นในสัปดาห์นี้ สู่ระดับ 325 แท่น ขณะที่จำนวนแท่นขุดเจาะทั้งหมด รวมทั้งน้ำมันและก๊าซ เพิ่มขึ้น 4 แท่น มาอยู่ที่ 408 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบหลายเดือน
ทั้งนี้ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าอุปทานน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมัน
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากผลการประชุมโอเปกเมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการควบคุมราคาและปริมาณน้ำมันในตลาด
แถลงการณ์หลังการประชุมโอเปกระบุแต่เพียงว่า ประเทศสมาชิกโอเปกจะใช้ความพยายามต่อไปเพื่อทำให้ตลาดมีเสถียรภาพ โดยไม่ได้ระบุถึงคำมั่นสัญญาที่เป็นรูปธรรม รวมถึงไม่มีการกล่าวถึงการกำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน
รายงานข่าวระบุว่า สมาชิกโอเปกจากอ่าวอาหรับ ซึ่งรวมถึงซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีแนวความคิดที่จะให้สมาชิกร่วมมือกันควบคุมการผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ดี อิหร่านได้แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดที่จะมีการกำหนดเพดานการผลิตน้ำมัน เหมือนกับที่เคยคัดค้านในการประชุมหลายครั้งก่อนหน้านี้