นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงทิศทางของจุฬาฯ ในการพัฒนา Digital startup ว่า เนื่องจากนวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของจุฬาฯ คือต้องการเน้นย้ำให้บุคลากรในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นิสิต อาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จัดทำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเน้น 4 ด้านหลัก คือ 1.สิ่งแวดล้อม 2.สุขภาวะ 3.สังคม และ 4.เศรษฐกิจ
ทั้งนี้ในปัจจุบันจุฬาฯ มีนวัตกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมถังขยะแยกขยะ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และเนื่องด้วยจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้เกือบจะครบทุกด้าน ดังนั้นจึงมีการคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้หลายศาสตร์ผสม อย่างเครื่องเช็กคลื่นสมอง ที่เป็นนวัตกรรมร่วมระหว่างคณะแพทย์และคณะวิศวกรรมศาสตร์
นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังมีการพัฒนาศูนย์ Innovation hub ที่จะสร้างขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น สยามสแควร์ จามจุรีสแควร์ เป็นต้น ซึ่งศูนย์นี้จะทำให้ประชาสังคมตื่นตัวเรื่องนวัตกรรม และเป็นกลไกให้ผู้ที่สนใจเรื่องนวัตกรรมมาพบปะและระดมปัญญาเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม การจะสร้างแต่ละนวัตกรรมไม่ใช่ว่าใครก็สร้างได้ ต้องผ่านการวิเคราะห์เพื่อที่จะดูว่าสามารถขายได้จริงหรือไม่ และจะนำไปพัฒนาต่ออย่างไร เพราะนวัตกรรมต่างจากสิ่งประดิษฐ์ คือถ้าเป็นนักประดิษฐ์จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ แต่การสร้างนวัตกรรมจะต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง มีประโยชน์ต่อสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับประเทศ เช่น แอปพลิเคชันเวียร์บัส ที่ใช้ในการติดตามรถประจำทางแบบเรียลไทม์ เพื่อลดความหงุดหงิดในการรอรถ โดยแอปพลิเคชันนี้ได้พัฒนาต่อยอดจนสามารถนำไปใช้กับรถโดยสารขนส่งมวลชนของ ขสมก. 3 สาย คือ สาย 36, 54 และ 204
"ผมเชื่อว่าจุฬาฯ จะสร้างความร่วมมือระหว่างคณะเพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่จะนำไปพัฒนา รวมถึงทำให้ประเทศยั่งยืนได้ มหาวิทยาลัยจะต้องเป้าหมายใหม่ ต้องตอบให้ไว้ว่าเราเน้นอะไร จะทำอะไร ให้ตอบโจทย์ความต้องการและได้ประโยชน์โดยรวม อีกทั้งศูนย์ Innovation hub จะเป็นกลไลหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศมีการผลิตและสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง" อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว
ทั้งนี้ในปัจจุบันจุฬาฯ มีนวัตกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมถังขยะแยกขยะ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และเนื่องด้วยจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้เกือบจะครบทุกด้าน ดังนั้นจึงมีการคิดค้นนวัตกรรมที่ใช้หลายศาสตร์ผสม อย่างเครื่องเช็กคลื่นสมอง ที่เป็นนวัตกรรมร่วมระหว่างคณะแพทย์และคณะวิศวกรรมศาสตร์
นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังมีการพัฒนาศูนย์ Innovation hub ที่จะสร้างขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น สยามสแควร์ จามจุรีสแควร์ เป็นต้น ซึ่งศูนย์นี้จะทำให้ประชาสังคมตื่นตัวเรื่องนวัตกรรม และเป็นกลไกให้ผู้ที่สนใจเรื่องนวัตกรรมมาพบปะและระดมปัญญาเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม การจะสร้างแต่ละนวัตกรรมไม่ใช่ว่าใครก็สร้างได้ ต้องผ่านการวิเคราะห์เพื่อที่จะดูว่าสามารถขายได้จริงหรือไม่ และจะนำไปพัฒนาต่ออย่างไร เพราะนวัตกรรมต่างจากสิ่งประดิษฐ์ คือถ้าเป็นนักประดิษฐ์จะประดิษฐ์อะไรก็ได้ แต่การสร้างนวัตกรรมจะต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง มีประโยชน์ต่อสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับประเทศ เช่น แอปพลิเคชันเวียร์บัส ที่ใช้ในการติดตามรถประจำทางแบบเรียลไทม์ เพื่อลดความหงุดหงิดในการรอรถ โดยแอปพลิเคชันนี้ได้พัฒนาต่อยอดจนสามารถนำไปใช้กับรถโดยสารขนส่งมวลชนของ ขสมก. 3 สาย คือ สาย 36, 54 และ 204
"ผมเชื่อว่าจุฬาฯ จะสร้างความร่วมมือระหว่างคณะเพื่อสร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่จะนำไปพัฒนา รวมถึงทำให้ประเทศยั่งยืนได้ มหาวิทยาลัยจะต้องเป้าหมายใหม่ ต้องตอบให้ไว้ว่าเราเน้นอะไร จะทำอะไร ให้ตอบโจทย์ความต้องการและได้ประโยชน์โดยรวม อีกทั้งศูนย์ Innovation hub จะเป็นกลไลหนึ่งที่ช่วยให้ประเทศมีการผลิตและสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง" อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว