นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อโครงการ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีภาคเกษตร ว่า หลังจากที่เปิดคำขอสินเชื่อ 1 ตำบล 1 เอสเอ็มอีภาคเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ขณะนี้ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 11,000 ล้านบาท จากเป้าหมาย 72,000 ล้านบาท คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อได้หมดภายใน 1 ปี
โดยมีผู้ขอสินเชื่อทั้งประเภทบุคคล วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตั้งแต่การผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ โดย ธ.ก.ส.จะปล่อยกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ในช่วงระยะเวลา 1-7 ปี ส่วนปีที่ 8 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR ตามประเภทลูกค้า เงินกู้สำหรับการลงทุนระยะเวลาชำระคืน 10 ปี หากหลักประกันเงินฝากหรือจำนองไม่เพียงพอสามารถยื่นขอบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พิจารณาค้ำประกันเพิ่มได้
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ธ.ก.ส.ตั้งเป้าหมายให้ทุกตำบล จำนวน 7,300 ตำบล มีเอสเอ็มอีภาคเกษตรหนึ่งแห่ง ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีเอสเอ็มอีภาคเกษตรแล้ว 2,800 แห่ง คาดว่าจะครบตามเป้าหมายภายในเดือนมีนาคม 2560
ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 22 จังหวัด มีการพักหนี้เกษตรกรเป็นระยะเวลา 24 เดือน และลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ซึ่งมีเกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือ 500,000 ราย ส่วนการปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 8,000 ล้านบาท
โดยมีผู้ขอสินเชื่อทั้งประเภทบุคคล วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตั้งแต่การผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ โดย ธ.ก.ส.จะปล่อยกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ในช่วงระยะเวลา 1-7 ปี ส่วนปีที่ 8 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR หรือ MLR ตามประเภทลูกค้า เงินกู้สำหรับการลงทุนระยะเวลาชำระคืน 10 ปี หากหลักประกันเงินฝากหรือจำนองไม่เพียงพอสามารถยื่นขอบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พิจารณาค้ำประกันเพิ่มได้
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ธ.ก.ส.ตั้งเป้าหมายให้ทุกตำบล จำนวน 7,300 ตำบล มีเอสเอ็มอีภาคเกษตรหนึ่งแห่ง ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีเอสเอ็มอีภาคเกษตรแล้ว 2,800 แห่ง คาดว่าจะครบตามเป้าหมายภายในเดือนมีนาคม 2560
ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 22 จังหวัด มีการพักหนี้เกษตรกรเป็นระยะเวลา 24 เดือน และลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 ซึ่งมีเกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือ 500,000 ราย ส่วนการปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง มีการปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 8,000 ล้านบาท