นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันป้ายโฆษณาที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ได้มีการพัฒนารูปแบบตามเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งจากป้ายโฆษณาแบบเดิมที่เป็นภาพนิ่ง กลายเป็นป้ายโฆษณาประเภทแอลอีดีและแอลซีดี ซึ่งเป็นรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการสำรวจพบประมาณ 72 ป้าย โดยติดตั้งบนผิวดิน 29 ป้าย และบนอาคาร 43 ป้าย
ทั้งนี้ป้ายดังกล่าว ทำให้เกิดความเดือดร้อนรบกวนประชาชนที่ขับขี่บนท้องถนน เนื่องจากแสงไฟจากป้ายมีความสว่างมากเกินไปและบางป้ายก็มีเสียงดังรบกวนประชาชนโดยรอบ จนเกิดปัญหาร้องเรียนมายังกทม.จำนวนมาก แต่กทม.ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายในการควบคุมดูแลป้ายโฆษณาประเภทแอลอีดี ดังนั้นขณะนี้ กทม.จึงได้ดำเนินการร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อการควบคุมป้ายโฆษณาประเภทแอลอีดีโดยเฉพาะ
ล่าสุดสำนักการโยธาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม ในส่วนของการกำหนดค่าความสว่างของแสงไฟและภาพเคลื่อนไหว ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน เพื่อไม่ให้กระทบกับสายตาผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งกทม.ได้หารือร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการกำหนดค่ามาตรฐานของแสงสว่างและภาพเคลื่อนไหว ในพื้นที่เขตเมือง พื้นที่รอบนอก ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดความสว่างของป้ายที่แตกต่างกัน รวมถึงมาตรการเพิ่มการจัดเก็บภาษีป้ายโฆษณาที่เคลื่อนไหวด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าในอีกประมาณ 2 เดือน จะยื่นเสนอแก้กฎหมายข้อบัญญัติดังกล่าวให้สภากทม.พิจารณาได้
ทั้งนี้ป้ายดังกล่าว ทำให้เกิดความเดือดร้อนรบกวนประชาชนที่ขับขี่บนท้องถนน เนื่องจากแสงไฟจากป้ายมีความสว่างมากเกินไปและบางป้ายก็มีเสียงดังรบกวนประชาชนโดยรอบ จนเกิดปัญหาร้องเรียนมายังกทม.จำนวนมาก แต่กทม.ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายในการควบคุมดูแลป้ายโฆษณาประเภทแอลอีดี ดังนั้นขณะนี้ กทม.จึงได้ดำเนินการร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อการควบคุมป้ายโฆษณาประเภทแอลอีดีโดยเฉพาะ
ล่าสุดสำนักการโยธาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม ในส่วนของการกำหนดค่าความสว่างของแสงไฟและภาพเคลื่อนไหว ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน เพื่อไม่ให้กระทบกับสายตาผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งกทม.ได้หารือร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการกำหนดค่ามาตรฐานของแสงสว่างและภาพเคลื่อนไหว ในพื้นที่เขตเมือง พื้นที่รอบนอก ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดความสว่างของป้ายที่แตกต่างกัน รวมถึงมาตรการเพิ่มการจัดเก็บภาษีป้ายโฆษณาที่เคลื่อนไหวด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าในอีกประมาณ 2 เดือน จะยื่นเสนอแก้กฎหมายข้อบัญญัติดังกล่าวให้สภากทม.พิจารณาได้