นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2528-2558) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมาก โดยบริษัทได้รวบรวมข้อมูล พบว่า ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2528-2534 และชะลอตัวในช่วงปี 2535-2539 หลังจากนั้นราคาที่ดินก็ตกต่ำลงในช่วงปี 2540-2542 และกลับฟื้นตัวอีกในช่วงปี 2543-2548 จากนั้นก็ชะลอตัวลง จนมาฟื้นตัวอีกครั้งในปี 2553 ต่อเนื่องถึงปี 2556 และชะลอตัวลงชัดเจนในปี 2557-2558
ทั้งนี้ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินทั่วเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปรับเพิ่มขึ้นถึง 47 เท่า ซึ่งนับเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ก็มีบางช่วงที่ปรับลงโดยเฉพาะในปี 2540-2541 โดยในรอบ 5 ปี (ปี 53-58) ทำเลที่ปรับตัวเพิ่มสูง คือ เขตชั้นใน 37.1%, เขตชั้นกลาง 32.7-37.1% และเขตชั้นนอก 13.3-31.1% (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งเมือง 27.4%)
นายโสภณ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในช่วงต้นปี 2559 พบว่า ณ สิ้นปี 2558 ราคาที่ดินที่แพงที่สุดในขณะนี้คือบริเวณสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต ตารางวา (ตร.ว.) ละ 1.9 ล้านบาท หรือไร่ละ 760 ล้านบาท เพราะมีรถไฟฟ้าวิ่งตัดกัน 2 สาย กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่ขยายตัวสูงสุดโดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก แซงหน้าสีลมและเยาวราชที่เคยแพงที่สุดไปแล้ว โดยบริเวณสุขุมวิท-ไทม์สแควร์ มีราคารองลงมาคือ 1.85 ล้านบาทต่อ ตร.ว. หรือไร่ละ 740 ล้านบาท
“แปลงที่ดินที่มีราคาตลาดสูงสุดตอนนี้ คือบริเวณสยามพารากอน บริเวณสยามสแควร์ บริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าชิดลม และบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ราคาที่ดินที่ประเมินได้คือ 1.9 ล้านบาทต่อ ตร.ว. คาดว่าในปี 2560 ราคาที่ดินบริเวณนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.17 ล้านบาทต่อ ตร.ว.”
ทั้งนี้ในส่วนราคาที่ดินที่ต่ำที่สุดคือแถวถนนเลียบคลอง 13 ลำลูกกา โดยที่ดินขนาด 4 ไร่ มีราคา ตร.ว.ละ 2,500 บาท หรือไร่ละ 1 ล้านบาท โดยหากเป็นที่ดินแปลงใหญ่ขนาด 16 ไร่ จะเหลือ ตร.ว.ละ 2,200 บาท หรือไร่ละ 880,000 บาท และขนาด 36 ไร่ ก็จะมีราคาถูกลงเหลือ ตร.ว.ละ 1,100 บาท หรือไร่ละ 440,000 บาท เหตุผลเพราะแถวนั้นไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใดๆ โดยเฉพาะทางด่วนและรถไฟฟ้า
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของราคาที่ดินที่ขึ้นสูงสุด และที่ไม่ขึ้นเลย พบว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินในบริเวณถนนรัชดาภิเษก แถบเดอะมอลล์ ปรับสูงขึ้นเพราะมีรถไฟฟ้าวิ่งผ่านหลายสาย, กล้วยน้ำไท-พระรามที่ 4 เพราะแถวสุขุมวิทแพงมากจึงขยายตัวมาทางนี้ โดยปรับราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% ส่วนที่ดินที่ราคาไม่ขึ้นเลย ได้แก่ แถวนวนคร ตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพบางไทร บางขัน บางกระดี่ รังสิต-นครนายก ถนนสายเอเชีย เป็นต้น โดยมีเหตุผลจากระบบสาธารณูปโภคต่างๆ หยุดนิ่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2560 คาดว่าจะขยับตัวมากกว่า 3.2% โดยราคาที่ดินก็จะเพิ่มสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองชายแดน เมืองท่องเที่ยวและเมืองอุตสาหกรรมที่อาจเติบโตมากกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ทั้งนี้ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินทั่วเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปรับเพิ่มขึ้นถึง 47 เท่า ซึ่งนับเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ก็มีบางช่วงที่ปรับลงโดยเฉพาะในปี 2540-2541 โดยในรอบ 5 ปี (ปี 53-58) ทำเลที่ปรับตัวเพิ่มสูง คือ เขตชั้นใน 37.1%, เขตชั้นกลาง 32.7-37.1% และเขตชั้นนอก 13.3-31.1% (เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งเมือง 27.4%)
นายโสภณ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลในช่วงต้นปี 2559 พบว่า ณ สิ้นปี 2558 ราคาที่ดินที่แพงที่สุดในขณะนี้คือบริเวณสยามสแควร์ ชิดลม เพลินจิต ตารางวา (ตร.ว.) ละ 1.9 ล้านบาท หรือไร่ละ 760 ล้านบาท เพราะมีรถไฟฟ้าวิ่งตัดกัน 2 สาย กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่ขยายตัวสูงสุดโดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก แซงหน้าสีลมและเยาวราชที่เคยแพงที่สุดไปแล้ว โดยบริเวณสุขุมวิท-ไทม์สแควร์ มีราคารองลงมาคือ 1.85 ล้านบาทต่อ ตร.ว. หรือไร่ละ 740 ล้านบาท
“แปลงที่ดินที่มีราคาตลาดสูงสุดตอนนี้ คือบริเวณสยามพารากอน บริเวณสยามสแควร์ บริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าชิดลม และบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ราคาที่ดินที่ประเมินได้คือ 1.9 ล้านบาทต่อ ตร.ว. คาดว่าในปี 2560 ราคาที่ดินบริเวณนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.17 ล้านบาทต่อ ตร.ว.”
ทั้งนี้ในส่วนราคาที่ดินที่ต่ำที่สุดคือแถวถนนเลียบคลอง 13 ลำลูกกา โดยที่ดินขนาด 4 ไร่ มีราคา ตร.ว.ละ 2,500 บาท หรือไร่ละ 1 ล้านบาท โดยหากเป็นที่ดินแปลงใหญ่ขนาด 16 ไร่ จะเหลือ ตร.ว.ละ 2,200 บาท หรือไร่ละ 880,000 บาท และขนาด 36 ไร่ ก็จะมีราคาถูกลงเหลือ ตร.ว.ละ 1,100 บาท หรือไร่ละ 440,000 บาท เหตุผลเพราะแถวนั้นไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใดๆ โดยเฉพาะทางด่วนและรถไฟฟ้า
นอกจากนี้ บริษัทยังได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของราคาที่ดินที่ขึ้นสูงสุด และที่ไม่ขึ้นเลย พบว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินในบริเวณถนนรัชดาภิเษก แถบเดอะมอลล์ ปรับสูงขึ้นเพราะมีรถไฟฟ้าวิ่งผ่านหลายสาย, กล้วยน้ำไท-พระรามที่ 4 เพราะแถวสุขุมวิทแพงมากจึงขยายตัวมาทางนี้ โดยปรับราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% ส่วนที่ดินที่ราคาไม่ขึ้นเลย ได้แก่ แถวนวนคร ตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพบางไทร บางขัน บางกระดี่ รังสิต-นครนายก ถนนสายเอเชีย เป็นต้น โดยมีเหตุผลจากระบบสาธารณูปโภคต่างๆ หยุดนิ่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2560 คาดว่าจะขยับตัวมากกว่า 3.2% โดยราคาที่ดินก็จะเพิ่มสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นบริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองชายแดน เมืองท่องเที่ยวและเมืองอุตสาหกรรมที่อาจเติบโตมากกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล