นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกประจำตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้มีการดูแลกวดขันสถานการณ์โรคพิษสุนับบ้า ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงฤดูร้อน
ทั้งนี้ สถานการณ์ของโรคในพื้นที่กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 42-55 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 7 ราย จากนั้นในปี 56 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งจากการสอบสวนโรคพบว่า คนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากถูกสุนัขกัด ดังนั้น หากประชาชนถูกสุนัขกัด จะต้องรีบฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย
สำหรับสัตว์ที่พบเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่เป็นสุนัข ร้อยละ 90-96 เป็นแมว ร้อยละ 4-8 โดยร้อยละ 70 เป็นสัตว์จรจัด และร้อยละ 30 เป็นสัตว์มีเจ้าของ นอกจาก นี้ยังพบว่า ร้อยละ 80 ของสัตว์มีเจ้าของไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและมักเลี้ยงดูแบบอิสระ ทำให้มีโอกาสไปสัมผัสกับสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า โดยปี 58 กทม.พบสัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 22ตัว
นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ในปี 58 ที่ผ่านมา กทม.ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์ จำนวน 182,838 ตัว ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว 29,418 ตัว ฉีดไมโครซิปจดทะเบียนสุนัข 5,354 ตัว จับสุนัขจรจัด 8,804 ตัว และให้การเลี้ยงดูสุนัขจรจัด 5,434 ตัว ซึ่งกทม.ตั้งเป้าให้กรุงเทพฯต้องปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าทั้งคนและสัตว์ให้ได้ภายในปี 63 นี้ ซึ่งจะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใส่ใจในการเลี้ยงดูสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆให้มากยิ่งขึ้น และใส่ใจในกรนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ทั้งนี้ เชื้อพิษสุนัขบ้าไม่ได้มีเฉพาะสุนัขเพียงเท่านั้น แต่ยังมีแมว กระรอก กระต่าย และนก ดังนั้น ผู้ว่าฯกทม.จึงได้กำชับให้สำนักอนามัยลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชนในการสังเกตอาการ เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลงพื้นที่รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สถานการณ์ของโรคในพื้นที่กรุงเทพฯมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 42-55 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 7 ราย จากนั้นในปี 56 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบผู้เสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งจากการสอบสวนโรคพบว่า คนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากถูกสุนัขกัด ดังนั้น หากประชาชนถูกสุนัขกัด จะต้องรีบฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย
สำหรับสัตว์ที่พบเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่เป็นสุนัข ร้อยละ 90-96 เป็นแมว ร้อยละ 4-8 โดยร้อยละ 70 เป็นสัตว์จรจัด และร้อยละ 30 เป็นสัตว์มีเจ้าของ นอกจาก นี้ยังพบว่า ร้อยละ 80 ของสัตว์มีเจ้าของไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและมักเลี้ยงดูแบบอิสระ ทำให้มีโอกาสไปสัมผัสกับสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้า โดยปี 58 กทม.พบสัตว์ที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 22ตัว
นายวสันต์ กล่าวต่อว่า ในปี 58 ที่ผ่านมา กทม.ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์ จำนวน 182,838 ตัว ผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว 29,418 ตัว ฉีดไมโครซิปจดทะเบียนสุนัข 5,354 ตัว จับสุนัขจรจัด 8,804 ตัว และให้การเลี้ยงดูสุนัขจรจัด 5,434 ตัว ซึ่งกทม.ตั้งเป้าให้กรุงเทพฯต้องปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าทั้งคนและสัตว์ให้ได้ภายในปี 63 นี้ ซึ่งจะเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใส่ใจในการเลี้ยงดูสุนัขและสัตว์เลี้ยงอื่นๆให้มากยิ่งขึ้น และใส่ใจในกรนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ทั้งนี้ เชื้อพิษสุนัขบ้าไม่ได้มีเฉพาะสุนัขเพียงเท่านั้น แต่ยังมีแมว กระรอก กระต่าย และนก ดังนั้น ผู้ว่าฯกทม.จึงได้กำชับให้สำนักอนามัยลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชนในการสังเกตอาการ เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและลงพื้นที่รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่อง