สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (29 เม.ย.) จากแรงขายทำกำไร หลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นมาหลายวันติดต่อกัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 11 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 45.92 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับทั้งเดือนเม.ย. ราคาน้ำมันดิบสหรัฐทะยานขึ้นเกือบ 20% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดในรอบปี โดยได้ปัจจัยหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าและผลผลิตน้ำมันสหรัฐที่ลดลง
ด้านสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ขยับลง 1 เซนต์ในวันศุกร์ ปิดที่ 48.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ตลอดทั้งเดือน ราคาพุ่งขึ้นกว่า 21%
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันวันศุกร์ค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงแรกราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันกลับมาปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันจากผลสำรวจที่เผยให้เห็นว่า ผลผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเม.ย. อย่างไรก็ดี ราคากลับมาดีดตัวขึ้นอีกครั้ง จนเกือบทำให้ตลาดปิดแดนบวก หลังมีการเปิดเผยข้อมูลแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน
ผลสำรวจของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่า ผลผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้น 484,000 บาร์เรล เป็น 33.217 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนเม.ย.
ขณะที่เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 11 แท่นในสัปดาห์นี้ โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน สู่ระดับ 332 แท่นฃ
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 11 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 45.92 ดอลลาร์/บาร์เรล สำหรับทั้งเดือนเม.ย. ราคาน้ำมันดิบสหรัฐทะยานขึ้นเกือบ 20% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดในรอบปี โดยได้ปัจจัยหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าและผลผลิตน้ำมันสหรัฐที่ลดลง
ด้านสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ขยับลง 1 เซนต์ในวันศุกร์ ปิดที่ 48.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ตลอดทั้งเดือน ราคาพุ่งขึ้นกว่า 21%
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันวันศุกร์ค่อนข้างผันผวน โดยในช่วงแรกราคาน้ำมันได้แรงหนุนจากการร่วงลงของค่าเงินดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันกลับมาปรับตัวลดลง เพราะได้รับแรงกดดันจากผลสำรวจที่เผยให้เห็นว่า ผลผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเม.ย. อย่างไรก็ดี ราคากลับมาดีดตัวขึ้นอีกครั้ง จนเกือบทำให้ตลาดปิดแดนบวก หลังมีการเปิดเผยข้อมูลแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน
ผลสำรวจของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่า ผลผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มขึ้น 484,000 บาร์เรล เป็น 33.217 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนเม.ย.
ขณะที่เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการแก่อุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่ใช้งานในสหรัฐลดลง 11 แท่นในสัปดาห์นี้ โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน สู่ระดับ 332 แท่นฃ