รายงานข่าวแจ้งว่า การถึงแก่อนิจกรรมของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมานั้น ในกรณีดังกล่าวนายบรรหารเป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว และมียาเตรียมไว้ที่บ้าน มีพยาบาลคอยดูแลในตอนกลางคืน โดยในช่วงเช้ามืดวันที่ 21 เมษายน พยาบาลได้ตรวจร่างกายและปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเมื่อเห็นว่าอาการไม่ดีขึ้นจึงประสานไปยัง รพ.รามาธิบดี ซึ่งนายบรรหารเป็นผู้ป่วยรักษาอยู่ที่นั่นมาตลอด เพื่อขอรถฉุกเฉินมารับ
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าเมื่อประสานงานไประยะหนึ่งยังไม่เห็นรถพยาบาลมา จึงสอบถามกลับไปทราบว่าทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรามาฯ ได้ประสานให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้านนายบรรหารมากกว่าออกไปรับ ตามขั้นตอนรับ-ส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ต่อมาได้ติดต่อไปยังโรงพยาบาลวชิรฯ แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธไม่ทราบเรื่อง จึงต้องประสานกลับไปที่โรงพยาบาลรามาฯ อีกครั้ง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลาในการซักประวัติ แม้จะบอกว่าผู้ป่วยชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา แต่เจ้าหน้าที่ไม่รู้จัก หลังจากนั้นรถพยาบาลจึงมารับและนำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราชที่อยู่ใกล้บ้านพักถนนจรัญสนิทวงศ์ ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที
สำหรับนายบรรหารนั้น ปกติมีสุขภาพแข็งแรง ทุกเช้าจะตื่นมาออกกำลังกายด้วยวิธีการเดิน ภายในบ้านพักมียารักษาโรคหอบหืด และพยาบาลดูแลประจำ โดยในคืนวันที่ 20 เมษายน นายบรรหารบ่นว่าเหนื่อย กระทั่งช่วงเช้ามืดจึงเกิดอาการดังกล่าว
ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทางโรงพยาบาลรามาฯ ได้ติดต่อนำตัวนายบรรหารไปรักษาที่โรงพยาบาลแต่ทางญาตินายบรรหารปฏิเสธ จนกระทั่งเช้าวันที่ 23 เมษายน นายบรรหารได้ถึงแก่อนิจกรรม ซึ่งกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นทางครอบครัวไม่ได้ติดใจอะไร
ด้านเจ้าหน้าที่ระบบแพทย์ฉุกเฉินในแวดวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โดยปกติระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม. จะแบ่งตามเขตการปกครอง 50 เขต แบ่งออกเป็น 9 โซน อาทิ 1. วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร ดูแลพื้นที่เขตพระนคร ดุสิต ตลิ่งชัน บางพลัด บางซื่อ ทวีวัฒนา 2. โรงพยาบาลกลาง ดูแลพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ เป็นต้น ในระบบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตาม สามารถโทรได้ที่สายด่วนฉุกเฉิน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) หรือสายด่วนเอราวัณ 1646 ซึ่งจะประสานรถฉุกเฉินหรือรถ EMS ที่อยู่ในพื้นที่ตามโซนเพื่อให้ไปรับได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ไม่ควรเกิน 10-15 นาที
อย่างไรก็ตาม ระบบของประเทศไทยยังมีปัญหา ทำให้หลายครั้งเมื่อญาติโทรแจ้งไปยังโรงพยาบาลโดยตรง ส่งผลให้เกิดปัญหาล่าช้า ซึ่งตรงนี้ต้องดูว่าทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้มีการประสานไปยังพื้นที่ตามโซนเพื่อให้มารับหรือไม่ และหากประสานแล้ว ทางโรงพยาบาลที่ได้รับการประสานมีการดำเนินการอย่างไร สิ่งเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ แต่ก็อยู่ที่ญาติด้วยว่าจะร้องให้มีการตรวจสอบหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่าเมื่อประสานงานไประยะหนึ่งยังไม่เห็นรถพยาบาลมา จึงสอบถามกลับไปทราบว่าทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรามาฯ ได้ประสานให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ที่อยู่ใกล้บ้านนายบรรหารมากกว่าออกไปรับ ตามขั้นตอนรับ-ส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ต่อมาได้ติดต่อไปยังโรงพยาบาลวชิรฯ แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธไม่ทราบเรื่อง จึงต้องประสานกลับไปที่โรงพยาบาลรามาฯ อีกครั้ง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลาในการซักประวัติ แม้จะบอกว่าผู้ป่วยชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา แต่เจ้าหน้าที่ไม่รู้จัก หลังจากนั้นรถพยาบาลจึงมารับและนำตัวส่งโรงพยาบาลศิริราชที่อยู่ใกล้บ้านพักถนนจรัญสนิทวงศ์ ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที
สำหรับนายบรรหารนั้น ปกติมีสุขภาพแข็งแรง ทุกเช้าจะตื่นมาออกกำลังกายด้วยวิธีการเดิน ภายในบ้านพักมียารักษาโรคหอบหืด และพยาบาลดูแลประจำ โดยในคืนวันที่ 20 เมษายน นายบรรหารบ่นว่าเหนื่อย กระทั่งช่วงเช้ามืดจึงเกิดอาการดังกล่าว
ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทางโรงพยาบาลรามาฯ ได้ติดต่อนำตัวนายบรรหารไปรักษาที่โรงพยาบาลแต่ทางญาตินายบรรหารปฏิเสธ จนกระทั่งเช้าวันที่ 23 เมษายน นายบรรหารได้ถึงแก่อนิจกรรม ซึ่งกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นทางครอบครัวไม่ได้ติดใจอะไร
ด้านเจ้าหน้าที่ระบบแพทย์ฉุกเฉินในแวดวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โดยปกติระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ กทม. จะแบ่งตามเขตการปกครอง 50 เขต แบ่งออกเป็น 9 โซน อาทิ 1. วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร ดูแลพื้นที่เขตพระนคร ดุสิต ตลิ่งชัน บางพลัด บางซื่อ ทวีวัฒนา 2. โรงพยาบาลกลาง ดูแลพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ เป็นต้น ในระบบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ก็ตาม สามารถโทรได้ที่สายด่วนฉุกเฉิน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) หรือสายด่วนเอราวัณ 1646 ซึ่งจะประสานรถฉุกเฉินหรือรถ EMS ที่อยู่ในพื้นที่ตามโซนเพื่อให้ไปรับได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ไม่ควรเกิน 10-15 นาที
อย่างไรก็ตาม ระบบของประเทศไทยยังมีปัญหา ทำให้หลายครั้งเมื่อญาติโทรแจ้งไปยังโรงพยาบาลโดยตรง ส่งผลให้เกิดปัญหาล่าช้า ซึ่งตรงนี้ต้องดูว่าทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้มีการประสานไปยังพื้นที่ตามโซนเพื่อให้มารับหรือไม่ และหากประสานแล้ว ทางโรงพยาบาลที่ได้รับการประสานมีการดำเนินการอย่างไร สิ่งเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ แต่ก็อยู่ที่ญาติด้วยว่าจะร้องให้มีการตรวจสอบหรือไม่