พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ที่ปรึกษาและบุคลากรจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมประชุมกับบุคลากรทุกภาคส่วนในจังหวัดนครพนม และนักวิจัยจากวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 9 เมษายน เพื่อ ขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 10 แห่ง ตามประกาศของ คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา การประชุมครั้งนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้มาติดตามความ ก้าวหน้าการจัดทำหลักสูตรในเขตเศรษฐกิจ พิเศษชายแดน จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดแรก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมการ ขับเคลื่อนจำนวน 210 คน
ทั้งนี้ จังหวัดนครพนม บางส่วนเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งมีชายแดนติดกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ที่สินค้าจากประเทศไทยจะสามารถส่งไปยังลาว เวียดนาม และจีนทางใต้ได้ ดังนั้น การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน จึงต้องมีลักษณะเพิ่มเติมพิเศษที่ให้ผู้เรียนระดับประถม มัธยม อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และมหาวิทยาลัย มีเนื้อหาที่สามารถทำให้ผู้เรียน รู้ เข้าใจ และทำงานได้ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ โดยเฉพาะ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปริญญาตรี เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วต้องสามารถทำงานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพเป็นเจ้าของธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษและนอกเขตเขตเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถทำการค้าขายกับเวียดนามและจีนได้อีกด้วย
ทั้งนี้ จังหวัดนครพนม บางส่วนเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีกทั้งมีชายแดนติดกับแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว ที่สินค้าจากประเทศไทยจะสามารถส่งไปยังลาว เวียดนาม และจีนทางใต้ได้ ดังนั้น การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน จึงต้องมีลักษณะเพิ่มเติมพิเศษที่ให้ผู้เรียนระดับประถม มัธยม อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และมหาวิทยาลัย มีเนื้อหาที่สามารถทำให้ผู้เรียน รู้ เข้าใจ และทำงานได้ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ โดยเฉพาะ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปริญญาตรี เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วต้องสามารถทำงานในสถานประกอบการหรือประกอบอาชีพเป็นเจ้าของธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษและนอกเขตเขตเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถทำการค้าขายกับเวียดนามและจีนได้อีกด้วย