นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) มีมติส่งคำถามพ่วงประชามติในประเด็นให้วุฒิสมาชิก(ส.ว.) มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ว่า ยังไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากยังเป็นเพียงมติของ สปท.ที่ต้องส่งให้ สนช. พิจารณา ทั้งยังไม่ทราบว่า สนช. จะส่งคำถามพ่วงหรือไม่ จึงไม่หนักใจ เพราะเรื่องยังไม่เกิด แต่เห็นว่าคำถามดังกล่าวขัดต่อหลักการของ กรธ.ที่ร่างไว้ หากผ่านขั้นตอนการทำประชามติไปแล้วจะเกิดปัญหา ซึ่งกรธ.จะต้องปรับแก้ภายใน 30 วันหลังจากทำประชามติ หากแก้บทเฉพาะกาลยังพอทำได้ แต่หากแก้เนื้อหาสาระในบทถาวรจะขัดกับสิ่งที่ประชาชนลงประชามติไปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ สนช.จะต้องพิจารณาให้ดี ในฐานะของผู้เลือกที่จะส่งคำถาม
นายมีชัย กล่าว่าอีกว่า สำหรับการเดินสายชี้เเจงร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า กรธ. มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมชี้เเจง เพราะผลสำรวจความเห็นประชาชนที่ออกมาส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญเผยแพร่เเล้ว อีกทั้งกรรมาธิการพิจารณาเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ยอมปรับแก้ให้ กรธ. มีหน้าที่ในการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ แต่รูปแบบและวิธีการต้องรอกฎหมายประชามติก่อน ยืนยันว่าให้อิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาได้ เชื่อว่าการทำประชามติจะไม่มีใครสามารถสั่งการได้ ขณะเดียวกันพร้อมชี้แจงว่าเงื่อนเวลาในร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้โรดแมปเลือกตั้งเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากหากกฎหมายลูก 4 ฉบับที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ก็จัดให้เลือกตั้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกให้ครบ 10 ฉบับ
นายมีชัย กล่าว่าอีกว่า สำหรับการเดินสายชี้เเจงร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า กรธ. มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมชี้เเจง เพราะผลสำรวจความเห็นประชาชนที่ออกมาส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญเผยแพร่เเล้ว อีกทั้งกรรมาธิการพิจารณาเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ยอมปรับแก้ให้ กรธ. มีหน้าที่ในการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ แต่รูปแบบและวิธีการต้องรอกฎหมายประชามติก่อน ยืนยันว่าให้อิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาได้ เชื่อว่าการทำประชามติจะไม่มีใครสามารถสั่งการได้ ขณะเดียวกันพร้อมชี้แจงว่าเงื่อนเวลาในร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้โรดแมปเลือกตั้งเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากหากกฎหมายลูก 4 ฉบับที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ ก็จัดให้เลือกตั้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกให้ครบ 10 ฉบับ