สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (31 มี.ค.) โดยภาวะการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ที่กาตาร์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดบวก 2 เซนต์ หรือ 0.05% แตะที่ระดับ 38.34 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ที่ตลาดลอนดอน ปิดเพิ่มขึ้น 34 เซนต์ หรือ 0.9% แตะที่ 39.60 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทราบผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 เม.ย.นี้ ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการจำกัดการผลิตน้ำมัน
ตลาดยังคงไม่มั่นใจต่อผลการประชุมดังกล่าว เนื่องจากลิเบียและอิหร่านอาจไม่เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ อิหร่านยืนยันมาโดยตลอดว่าต้องการเดินหน้าการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยกับส่วนที่ขาดหายไปในช่วงที่ถูกนานาชาติคว่ำบาตร โดยอิหร่านระบุว่าจะเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือการจำกัดการผลิตน้ำมัน ก็ต่อเมื่อสามารถผลิตน้ำมันแตะระดับ 4 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ลิเบียแสดงความต้องการที่จะปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันสู่ระดับก่อนเกิดสงครามในประเทศ
นักวิเคราะห์มองว่า การที่ลิเบียและอิหร่านไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวจะลดประสิทธิภาพที่จะเกิดจากการประชุม
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 มี.ค. เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 534.8 ล้านบาร์เรล โดยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดบวก 2 เซนต์ หรือ 0.05% แตะที่ระดับ 38.34 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. ที่ตลาดลอนดอน ปิดเพิ่มขึ้น 34 เซนต์ หรือ 0.9% แตะที่ 39.60 ดอลลาร์/บาร์เรล
ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทราบผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 เม.ย.นี้ ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการจำกัดการผลิตน้ำมัน
ตลาดยังคงไม่มั่นใจต่อผลการประชุมดังกล่าว เนื่องจากลิเบียและอิหร่านอาจไม่เข้าร่วมการประชุม
ทั้งนี้ อิหร่านยืนยันมาโดยตลอดว่าต้องการเดินหน้าการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยกับส่วนที่ขาดหายไปในช่วงที่ถูกนานาชาติคว่ำบาตร โดยอิหร่านระบุว่าจะเข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือการจำกัดการผลิตน้ำมัน ก็ต่อเมื่อสามารถผลิตน้ำมันแตะระดับ 4 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่ลิเบียแสดงความต้องการที่จะปรับเพิ่มการผลิตน้ำมันสู่ระดับก่อนเกิดสงครามในประเทศ
นักวิเคราะห์มองว่า การที่ลิเบียและอิหร่านไม่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวจะลดประสิทธิภาพที่จะเกิดจากการประชุม
นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 25 มี.ค. เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 534.8 ล้านบาร์เรล โดยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน