การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (18 มี.ค.) เริ่มเวลา 10.00 น. มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีทั้งสิ้น 66 มาตรา แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวดการจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ การจัดส่งร่างรัฐธรรมนูญและการเผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียง หมวดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกเสียง และหมวดการควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ เช่น กำหนดภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และให้ กรธ. ส่งสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก่ กกต.
ขณะที่ประเด็นคำถามเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ต้องการทำประชามติให้ส่งประเด็นไปยัง กกต. ภายใน 10 วัน ถัดจากวันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับแจ้งจาก กรธ. โดย กกต. เป็นผู้จัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ สรุปสาระสำคัญ ประเด็นเพิ่มเติม และเผยแพร่กระบวนการขั้นตอนการออกเสียงให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
สำหรับบัตรเสียไม่ให้นับเป็นคะแนนออกเสียง การจัดทำประชามติให้ กกต. กำหนดวันออกเสียง ซึ่งจะต้องไม่เร็วกว่า 90 วัน และไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ กกต. ได้รับร่างรัฐธรรมนูญและสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะประมาณวันที่ 7 สิงหาคมนี้ พร้อมคุณสมบัติของผู้มีสิทธิออกเสียง มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันออกเสียง การออกเสียงให้ กกต. กำหนดให้มีหลายประเด็นในบัตรออกเสียงเดียวกันได้ กำหนดให้ กกต. รายงานผลการออกเสียงอย่างไม่เป็นทางการได้เมื่อแสดงผลการออกเสียงถึงร้อยละ 95 ของจำนวนหน่วย
ส่วนการควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ ผู้ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความผิดต้องรับโทษทางอาญา จำคุกต่ำสุดตั้งแต่ไม่เกิน 3 เดือน ถึงสูงสุด 10 ปี ปรับตั้งแต่ไม่เกิน 6,000 บาท ถึง 200,000 บาท และอาจถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งหากผู้ใดทำให้ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติใหม่ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกเสียงประชามติในคราวถัดไป
ขณะที่ประเด็นคำถามเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ต้องการทำประชามติให้ส่งประเด็นไปยัง กกต. ภายใน 10 วัน ถัดจากวันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับแจ้งจาก กรธ. โดย กกต. เป็นผู้จัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ สรุปสาระสำคัญ ประเด็นเพิ่มเติม และเผยแพร่กระบวนการขั้นตอนการออกเสียงให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
สำหรับบัตรเสียไม่ให้นับเป็นคะแนนออกเสียง การจัดทำประชามติให้ กกต. กำหนดวันออกเสียง ซึ่งจะต้องไม่เร็วกว่า 90 วัน และไม่ช้ากว่า 120 วัน นับแต่วันที่ กกต. ได้รับร่างรัฐธรรมนูญและสรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะประมาณวันที่ 7 สิงหาคมนี้ พร้อมคุณสมบัติของผู้มีสิทธิออกเสียง มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันออกเสียง การออกเสียงให้ กกต. กำหนดให้มีหลายประเด็นในบัตรออกเสียงเดียวกันได้ กำหนดให้ กกต. รายงานผลการออกเสียงอย่างไม่เป็นทางการได้เมื่อแสดงผลการออกเสียงถึงร้อยละ 95 ของจำนวนหน่วย
ส่วนการควบคุมการออกเสียงและบทกำหนดโทษ ผู้ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความผิดต้องรับโทษทางอาญา จำคุกต่ำสุดตั้งแต่ไม่เกิน 3 เดือน ถึงสูงสุด 10 ปี ปรับตั้งแต่ไม่เกิน 6,000 บาท ถึง 200,000 บาท และอาจถูกศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนดไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งหากผู้ใดทำให้ต้องจัดให้มีการออกเสียงประชามติใหม่ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการออกเสียงประชามติในคราวถัดไป