เมื่อวันที่ 12 มีนาคม นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)กล่าวภายหลังตรวจความพร้อมสนามจัดสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2559 ว่า การเปิดสอบครั้งนี้มีผู้สมัครสอบ 18,047 คน แต่มีผู้มีสิทธิ์สอบ จำนวน 17,923 คน คิดเป็นร้อยละ 99.31 ทั้งประเทศมีตำแหน่งว่างอยู่ 3,955 อัตรา โดยเปิดสอบทั่วประเทศ 215 เขตพื้นที่การศึกษา และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เปิดสอบ64 กลุ่มวิชา ภาพรวมไม่มีผู้สมัครสอบ 1 กลุ่มวิชา คือกลุ่มวิชากิจกรรมบำบัด และพบว่ามีผู้สมัครสอบไว้มากกว่า 1 แห่ง จำนวน 312 คน ในเขตพื้นที่การศึกษา 167 เขต
สำหรับข้อสอบที่ใช้จัดสอบในครั้งนี้มี 2 ส่วน คือ เขตพื้นที่ฯออกข้อสอบเอง จำนวน 119 เขต และส่วนที่จ้างสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จำนวน 97 เขต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 77 เขต และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 20 เขต ซึ่งการดำเนินการจัดสอบได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กำหนด โดย สพฐ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปประจำทั้ง 215 เขตทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบและรายงานว่าดำเนินการจัดสอบให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ ก.ค.ศ.กำหนดหรือไม่
ทั้งนี้ก่อนจัดสอบ สพฐ.ได้ประชุมทำความเข้าใจกับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ถึงแนวทางการดำเนินการจัดสอบแล้ว โดยให้ยึดตามนโยบายของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ที่เน้นตอบโจทย์ โปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ส่วน คือ กรรมการออกข้อสอบ การบรรจุซองข้อสอบ การตรวจรับข้อสอบ การดูแลข้อสอบ การส่งข้อสอบ และการตรวจข้อสอบ โดยผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบจะต้องมีความระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับการสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
“การจัดสอบครั้งนี้ก็มีกระแสแจ้งมา 2-3 จุด ว่ามีคนไปวิ่งเต้น ดังนั้น ผมจึงแจ้งให้ผอ.เขตพื้นที่ฯ และเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะจุดที่กระแสแรง พร้อมกำชับผอ.เขต และเจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญกับการสอบสัมภาษณ์ โดยให้ตรวจสอบประวัติกรรมการสอบสัมภาษณ์ และรายชื่อผู้เข้าสอบ หากพบว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ หรือผู้บังคับบัญชาในการทำงานกับผู้เข้าสอบ ก็จะไม่ให้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ เพราะถือว่ามีส่วนได้เสียกัน และยังไม่พบว่ามีการแลกที่นั่งสอบกัน เพราะได้กำชับไปยังผอ.เขตพื้นที่แล้ว หากพบกรณีนี้เกิดขึ้นผอ.เขตก็จะต้องรับผิดชอบด้วย เพราะถือว่าเตือนแล้ว บอกวิธีปฏิบัติแล้ว ถ้าเกิดเหตุนี้ขึ้นก็ต้องรับผิดชอบทั้งระบบ หรือ หากบกพร่องด้านใดก็ต้องรับผิดชอบ สำหรับวันนี้เท่าที่ผมตรวจสอบ ตั้งแต่ก่อนเข้าห้องสอบก็มีเจ้าหน้าที่สแกนตัวผู้เข้าสอบ และห้ามนำเครื่องมือสื่อสาร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์เข้าห้องสอบเพื่อป้องกันการทุจริตสอบ การสอบครั้งนี้จึงไม่กังวล”
นายการุณ กล่าวอีกว่า ส่วน 312 คน ที่สมัครสอบซ้ำเขตไว้หลายแห่งนั้น ก็สามารถเลือกเข้าสอบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยทางสนามสอบจะมีมาตการตรวจสอบจากบัตรที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ และตรวจสอบจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เมื่อผู้สมัครเข้าสอบที่ใด เลข 13 หลักก็จะปรากฏที่นั้น ส่วนสาเหตุที่มีผู้สมัครสอบไว้หลายแห่ง ก็เพื่อจะดูว่าเขตใดมีสัดส่วนของผู้สมัครน้อย ก็จะไปสอบที่เขตพื้นที่นั้น ก็ถือเป็นโอกาสของผู้เข้าสอบ ซึ่งเราก็จะต้องหามาตรการป้องกัน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า รมว.ศธ.มีแนวคิดว่า โดยจะให้ สพฐ.ดำเนินการจัดสอบเอง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ ซึ่งการจัดสอบกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ได้ดำเนินการตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ที่มอบให้เขตพื้นที่ฯเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ ดังนั้น ในการสอบปกติ ซึ่งจะเปิดรับสมัครสอบในวันที่ 28 มีนาคม และจัดสอบในช่วงเดือนพฤษภาคม นี้ สพฐ.จะดำเนินการจัดสอบเอง โดยข้อสอบจะเป็นชุดเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้สามารถกำกับและควบคุมการจัดสอบได้ง่าย
ทั้งนี้ สพฐ.เคยห้ามข้าราชการไม่ให้เปิดติวข้อสอบครูผู้ช่วย หากตรวจสอบพบ ก็จะถูกลงโทษถึงขั้นให้ออกจากราชการ เพราะบางคนอาจเป็นผู้ออกข้อสอบอยู่แล้วนำข้อสอบออกมา หรือเอาข้อสอบที่เคยออกแล้วมาเปิดติว สพฐ.จึงห้ามเพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง
“โชคดีปีนี้ที่สพฐ.ได้อัตราแทนครูที่เกษียณคืนกลับมาเร็ว ที่สพฐ.จัดสอบบ่อยก็เพื่อต้องการให้มีครูสู่ห้องเรียน โดยเฉพาะวิชาเอกที่สำคัญ ๆ ซึ่งการสอบครูผู้ช่วยวันนี้ ผู้ที่มาสอบเคยทำหน้าที่พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ โดยในสวนนี้เราจะได้ครูคืนมา 25% ที่เหลือก็จะสอบปกติทั่วไปโดย สพฐ.เป็นผู้จัดสอบเองจากส่วนกลาง ตามนโยบาย รมว.ศึกษาธิการ” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
สำหรับข้อสอบที่ใช้จัดสอบในครั้งนี้มี 2 ส่วน คือ เขตพื้นที่ฯออกข้อสอบเอง จำนวน 119 เขต และส่วนที่จ้างสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ จำนวน 97 เขต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 77 เขต และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 20 เขต ซึ่งการดำเนินการจัดสอบได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กำหนด โดย สพฐ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางไปประจำทั้ง 215 เขตทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบและรายงานว่าดำเนินการจัดสอบให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ ก.ค.ศ.กำหนดหรือไม่
ทั้งนี้ก่อนจัดสอบ สพฐ.ได้ประชุมทำความเข้าใจกับผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ถึงแนวทางการดำเนินการจัดสอบแล้ว โดยให้ยึดตามนโยบายของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ที่เน้นตอบโจทย์ โปร่งใส เป็นธรรมตรวจสอบได้ และมีการตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ส่วน คือ กรรมการออกข้อสอบ การบรรจุซองข้อสอบ การตรวจรับข้อสอบ การดูแลข้อสอบ การส่งข้อสอบ และการตรวจข้อสอบ โดยผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบจะต้องมีความระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับการสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
“การจัดสอบครั้งนี้ก็มีกระแสแจ้งมา 2-3 จุด ว่ามีคนไปวิ่งเต้น ดังนั้น ผมจึงแจ้งให้ผอ.เขตพื้นที่ฯ และเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะจุดที่กระแสแรง พร้อมกำชับผอ.เขต และเจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญกับการสอบสัมภาษณ์ โดยให้ตรวจสอบประวัติกรรมการสอบสัมภาษณ์ และรายชื่อผู้เข้าสอบ หากพบว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ หรือผู้บังคับบัญชาในการทำงานกับผู้เข้าสอบ ก็จะไม่ให้เป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ เพราะถือว่ามีส่วนได้เสียกัน และยังไม่พบว่ามีการแลกที่นั่งสอบกัน เพราะได้กำชับไปยังผอ.เขตพื้นที่แล้ว หากพบกรณีนี้เกิดขึ้นผอ.เขตก็จะต้องรับผิดชอบด้วย เพราะถือว่าเตือนแล้ว บอกวิธีปฏิบัติแล้ว ถ้าเกิดเหตุนี้ขึ้นก็ต้องรับผิดชอบทั้งระบบ หรือ หากบกพร่องด้านใดก็ต้องรับผิดชอบ สำหรับวันนี้เท่าที่ผมตรวจสอบ ตั้งแต่ก่อนเข้าห้องสอบก็มีเจ้าหน้าที่สแกนตัวผู้เข้าสอบ และห้ามนำเครื่องมือสื่อสาร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์เข้าห้องสอบเพื่อป้องกันการทุจริตสอบ การสอบครั้งนี้จึงไม่กังวล”
นายการุณ กล่าวอีกว่า ส่วน 312 คน ที่สมัครสอบซ้ำเขตไว้หลายแห่งนั้น ก็สามารถเลือกเข้าสอบได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยทางสนามสอบจะมีมาตการตรวจสอบจากบัตรที่มีการพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ และตรวจสอบจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เมื่อผู้สมัครเข้าสอบที่ใด เลข 13 หลักก็จะปรากฏที่นั้น ส่วนสาเหตุที่มีผู้สมัครสอบไว้หลายแห่ง ก็เพื่อจะดูว่าเขตใดมีสัดส่วนของผู้สมัครน้อย ก็จะไปสอบที่เขตพื้นที่นั้น ก็ถือเป็นโอกาสของผู้เข้าสอบ ซึ่งเราก็จะต้องหามาตรการป้องกัน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า รมว.ศธ.มีแนวคิดว่า โดยจะให้ สพฐ.ดำเนินการจัดสอบเอง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ ซึ่งการจัดสอบกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ได้ดำเนินการตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ที่มอบให้เขตพื้นที่ฯเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ ดังนั้น ในการสอบปกติ ซึ่งจะเปิดรับสมัครสอบในวันที่ 28 มีนาคม และจัดสอบในช่วงเดือนพฤษภาคม นี้ สพฐ.จะดำเนินการจัดสอบเอง โดยข้อสอบจะเป็นชุดเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้สามารถกำกับและควบคุมการจัดสอบได้ง่าย
ทั้งนี้ สพฐ.เคยห้ามข้าราชการไม่ให้เปิดติวข้อสอบครูผู้ช่วย หากตรวจสอบพบ ก็จะถูกลงโทษถึงขั้นให้ออกจากราชการ เพราะบางคนอาจเป็นผู้ออกข้อสอบอยู่แล้วนำข้อสอบออกมา หรือเอาข้อสอบที่เคยออกแล้วมาเปิดติว สพฐ.จึงห้ามเพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง
“โชคดีปีนี้ที่สพฐ.ได้อัตราแทนครูที่เกษียณคืนกลับมาเร็ว ที่สพฐ.จัดสอบบ่อยก็เพื่อต้องการให้มีครูสู่ห้องเรียน โดยเฉพาะวิชาเอกที่สำคัญ ๆ ซึ่งการสอบครูผู้ช่วยวันนี้ ผู้ที่มาสอบเคยทำหน้าที่พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ โดยในสวนนี้เราจะได้ครูคืนมา 25% ที่เหลือก็จะสอบปกติทั่วไปโดย สพฐ.เป็นผู้จัดสอบเองจากส่วนกลาง ตามนโยบาย รมว.ศึกษาธิการ” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว