รายงานข่าวแจ้งว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีที่ ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธาน กกต. กับพวกรวม 4 คน ซึ่งเป็นอดีต กกต. เป็นจำเลยในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากกรณีที่พวกจำเลย มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ จากข้อกล่าวหาการจัดซื้อรถบรรทุกดีเซล จำนวน 75 คัน เมื่อปี 2545 โดยมิชอบ
คดีนี้ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การที่ ป.ป.ช. มีมติว่า ข้อกล่าวหาโจทก์ไม่มีมูลและให้ยุติเรื่อง แต่ พล.ต.อ.วาสนา กับพวก ยังคงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ได้ เพราะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 91 (1) บัญญัติบังคับไว้เฉพาะ กรณีที่ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดทางวินัย ป.ป.ช. จะส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามที่ ป.ป.ช. มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก แต่กรณีโจทก์ ป.ป.ช. มีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ดังนั้นจำเลยยังคงมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนยกฟ้องตามศาลล่างทั้งสอง
คดีนี้ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การที่ ป.ป.ช. มีมติว่า ข้อกล่าวหาโจทก์ไม่มีมูลและให้ยุติเรื่อง แต่ พล.ต.อ.วาสนา กับพวก ยังคงมีอำนาจมีมติให้คณะกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ได้ เพราะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 91 (1) บัญญัติบังคับไว้เฉพาะ กรณีที่ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดทางวินัย ป.ป.ช. จะส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามที่ ป.ป.ช. มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก แต่กรณีโจทก์ ป.ป.ช. มีมติว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ดังนั้นจำเลยยังคงมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนยกฟ้องตามศาลล่างทั้งสอง