น.พ.ยงยุทธ วงษ์ภิรมย์ศานย์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงขึ้น ในจำนวนนี้มากถึงร้อยละ 70 ฆ่าตัวตายด้วยวิธีแขวนคอ รองลงมาประมาณร้อยละ 20 ใช้ยาพิษโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง และอีกประมาณร้อยละ 10 เลือกวิธียิงตัวตาย ซึ่งผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบว่าปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตายคือ การดื่มสุรา มักพบในผู้ที่ดื่มสุราจัดทำให้ขาดสติในการควบคุมตัวเอง ปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ปกติป่วยโรคซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังบางรายเกิดความคิดไม่อยากเป็นภาระของลูกหลานทำให้คิดสั้น และที่พบมากคือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เกิดการทะเลาะกันภายในครอบครัว ผิดหวังเรื่องความรัก ขาดการดูแลเอาใจใส่
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 4,000 รายต่อปี หรือกว่า 300 รายต่อเดือน ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่นที่ฆ่าตัวตายมากเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 คือ สวีเดนและสแกนดิเนเวีย ที่มีอัตราฆ่าตัวตายเท่ากัน ทั้งสามประเทศนี้ส่วนใหญ่ผู้ที่ฆ่าตัวตายจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและเกิดความเบื่อหน่ายจากการดำเนินชีวิตหลังเข้าสู่วัยชรา และไม่อยากเป็นภาระของคนในครอบครัว
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 4,000 รายต่อปี หรือกว่า 300 รายต่อเดือน ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่นที่ฆ่าตัวตายมากเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 คือ สวีเดนและสแกนดิเนเวีย ที่มีอัตราฆ่าตัวตายเท่ากัน ทั้งสามประเทศนี้ส่วนใหญ่ผู้ที่ฆ่าตัวตายจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพและเกิดความเบื่อหน่ายจากการดำเนินชีวิตหลังเข้าสู่วัยชรา และไม่อยากเป็นภาระของคนในครอบครัว