นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการบินของสายการบินนกแอร์ ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นผู้พิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบชั่วโมงบิน จำนวนนักบิน เที่ยวบิน และเครื่องบินที่ทำการบินในปัจจุบัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการให้เป็นไปตามข้อบังคับเงื่อนไขการอนุญาต
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ 14 สายการบิน ไปจัดทำแผน ได้แก่ แผนเผชิญเหตุ แผนบริหารความเสี่ยงขององค์กร และแผนจัดการความเสี่ยงระบบคอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพ ส่วนปัญหาการขาดแคลน ล่าสุดได้มอบหมายให้สถาบันการบินพลเรือน ไปจัดทำแผนพัฒนาผลิตบุคลากรทางด้านการบินเพิ่มเติม 3 ส่วน ประกอบด้วย นักบิน ช่างซ่อมบำรุง และบุคลากรทางด้านการบิน
ขณะที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งโครงการที่คณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญและเร่งรัด คือ ระบบการเดินรถของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวง การถ่ายโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ และมอเตอร์เวย์ ซึ่งได้ลงนามในสัญญา และมีความคืบหน้าแล้ว 8 สัญญา จาก 13 สัญญา โดยจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในระบบการจัดเก็บ และการบำรุงรักษา ส่วนโครงการที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตั้งแต่ก่อสร้างและดำเนินการ ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีชมพู สายสีเหลือง และรถไฟเส้นทางกรุงเทพ - หัวหิน และกรุงเทพ - ระยอง ยกเว้นการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเอง
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ 14 สายการบิน ไปจัดทำแผน ได้แก่ แผนเผชิญเหตุ แผนบริหารความเสี่ยงขององค์กร และแผนจัดการความเสี่ยงระบบคอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพ ส่วนปัญหาการขาดแคลน ล่าสุดได้มอบหมายให้สถาบันการบินพลเรือน ไปจัดทำแผนพัฒนาผลิตบุคลากรทางด้านการบินเพิ่มเติม 3 ส่วน ประกอบด้วย นักบิน ช่างซ่อมบำรุง และบุคลากรทางด้านการบิน
ขณะที่ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งโครงการที่คณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญและเร่งรัด คือ ระบบการเดินรถของรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวง การถ่ายโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ และมอเตอร์เวย์ ซึ่งได้ลงนามในสัญญา และมีความคืบหน้าแล้ว 8 สัญญา จาก 13 สัญญา โดยจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในระบบการจัดเก็บ และการบำรุงรักษา ส่วนโครงการที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนตั้งแต่ก่อสร้างและดำเนินการ ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีชมพู สายสีเหลือง และรถไฟเส้นทางกรุงเทพ - หัวหิน และกรุงเทพ - ระยอง ยกเว้นการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเอง