ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนรี โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รัฐบาลสู่การปฏิบัติ ว่าแนวคิด แนวปฏิบัติ ประโยชน์สุข ความสำเร็จ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลสู่การปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สำคัญยิ่งคือข้าราชการที่ต้องเป็นแบบอย่าง ทั้งส่วนกลาง-ภูมิภาค-ท้องถิ่น ต้องร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวในการผนึกพลังความร่วมมือในการขับเคลื่อน โดยนำเอาแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนในทุกๆ บริบท จำแนกตามลักษณะ ความจำเป็นของพื้นที่และความจำเป็นเร่งด่วนที่แตกต่างกัน ความรับผิดชอบ และทิศทางการพัฒนา มาแปลงไปสู่แผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ส่วนกลาง-ภูมิภาค-ท้องถิ่น ให้สามารถนำไปขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบตามกรอบเวลาในแต่ละเรื่อง โดยมีแนวทางสำคัญ ได้แก่
1.เสริมสร้างและเพิ่มพูนบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับมิติของงานในภารกิจรับผิดชอบตามนโยบายของรัฐบาล มิติของพื้นที่ มิติขององค์กร มิติของชุมชน มิติของความจำเป็นเร่งด่วน บูรณาการกับแผนของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ไปจนถึงแผนระดับภาค/ประเทศ ที่ต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพ ไม่แบ่งแยกไม่แตกแยก ไม่นำเรื่องการเมืองหรือพรรคการเมือง มาแบ่งแยกคนในชาติให้เกิดความขัดแย้งอีกต่อไป แต่ต้องเสริมสร้างมิติของความรักสมัครสมานและยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด พร้อมไปกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
2.กำหนดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ ฉบับที่ 12 เพื่อทุกภาคส่วนสามารถนำไปขับเคลื่อนภายใต้บทบาท ภารกิจ ความรับผิดชอบทั้งในกรอบของพื้นที่-ส่วนราชการ-องค์กร การสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนโดยยึดมั่นการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นแบบอย่างของความประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นเงินภาษีอากรของประชาชนด้วยความพินิจพิเคราะห์ มีความรอบคอบถี่ถ้วน ตรึกตรองอยู่โดยเสมอว่าประเทศเรามิใช่ประเทศที่ร่ำรวย ความโอ้อวดมีแต่จะสร้างความขบขันและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจแก่ประชาคมระหว่างประเทศ
3.พิจารณาปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้กรอบการปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล สามารถตรวจสอบได้ เป็นธรรมต่อข้าราชการผู้ปฏิบัติและทุกภาคส่วน รับรองความกล้าในแนวคิดและมุ่งมั่นการปฏิบัติที่ไม่ใช่ความเสี่ยงภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน
4.วิเคราะห์และเสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ และขยายผลความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมแก่สาธารณชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในพื้นที่ มีความเข้าใจต่อกระบวนการมีส่วนร่วมและร่วมกันเป็นเจ้าของ และหวงแหนรักษา
5.มีระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน โดยมีระบบการตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างมีระบบที่จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการบริหารจัดการผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานที่ยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในทุกบริบท
6.พัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกๆ ด้านของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้มีความทันสมัย เป็นความรู้แก่สาธารณชนและแวดวงการศึกษา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ เพื่อประกอบใช้ในการวางแผนให้สามารถตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ให้เป็นระบบที่เข้าถึงได้ง่าย สร้างความเข้าใจที่ไม่สลับซับซ้อน และใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วนต่อการพัฒนาประเทศ
1.เสริมสร้างและเพิ่มพูนบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับมิติของงานในภารกิจรับผิดชอบตามนโยบายของรัฐบาล มิติของพื้นที่ มิติขององค์กร มิติของชุมชน มิติของความจำเป็นเร่งด่วน บูรณาการกับแผนของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ไปจนถึงแผนระดับภาค/ประเทศ ที่ต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพ ไม่แบ่งแยกไม่แตกแยก ไม่นำเรื่องการเมืองหรือพรรคการเมือง มาแบ่งแยกคนในชาติให้เกิดความขัดแย้งอีกต่อไป แต่ต้องเสริมสร้างมิติของความรักสมัครสมานและยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด พร้อมไปกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
2.กำหนดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ ฉบับที่ 12 เพื่อทุกภาคส่วนสามารถนำไปขับเคลื่อนภายใต้บทบาท ภารกิจ ความรับผิดชอบทั้งในกรอบของพื้นที่-ส่วนราชการ-องค์กร การสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนโดยยึดมั่นการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นแบบอย่างของความประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นเงินภาษีอากรของประชาชนด้วยความพินิจพิเคราะห์ มีความรอบคอบถี่ถ้วน ตรึกตรองอยู่โดยเสมอว่าประเทศเรามิใช่ประเทศที่ร่ำรวย ความโอ้อวดมีแต่จะสร้างความขบขันและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจแก่ประชาคมระหว่างประเทศ
3.พิจารณาปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมายและกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้กรอบการปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล สามารถตรวจสอบได้ เป็นธรรมต่อข้าราชการผู้ปฏิบัติและทุกภาคส่วน รับรองความกล้าในแนวคิดและมุ่งมั่นการปฏิบัติที่ไม่ใช่ความเสี่ยงภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน
4.วิเคราะห์และเสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ และขยายผลความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมแก่สาธารณชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในพื้นที่ มีความเข้าใจต่อกระบวนการมีส่วนร่วมและร่วมกันเป็นเจ้าของ และหวงแหนรักษา
5.มีระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างชัดเจน โดยมีระบบการตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างมีระบบที่จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการบริหารจัดการผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานที่ยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในทุกบริบท
6.พัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกๆ ด้านของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้มีความทันสมัย เป็นความรู้แก่สาธารณชนและแวดวงการศึกษา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ เพื่อประกอบใช้ในการวางแผนให้สามารถตอบสนองต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ให้เป็นระบบที่เข้าถึงได้ง่าย สร้างความเข้าใจที่ไม่สลับซับซ้อน และใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวางของทุกภาคส่วนต่อการพัฒนาประเทศ