นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึงการประชุมของ กมธ.การเมือง สปท.ว่า ในวันนี้ (1 ก.พ.)และวันพรุ่งนี้ (2 ก.พ.) นั้น จะเป็นการรับฟังความเห็นและหาแนวทาง รวมถึงข้อซักถามของสมาชิก กมธ.เพื่อจะเสนอข้อซักถามไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในวันที่ 3 ก.พ.ต่อไป ซึ่งประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาหารือเป็นกรณีพิเศษนั้น จะเป็นประเด็นด้านการเมือง ได้แก่ ที่มาและจำนวน ส.ส. ที่มา ส.ว. การเลือกตั้ง ที่มาของนายกรัฐมนตรี เรื่องคณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และหารือในเรื่องบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ซึ่งในขณะนี้ความเห็นเรื่องเหล่านี้นั้น กรธ.และ กมธ.ยังคงเห็นไม่ตรงกัน ต้องมาหารือว่าอันไหนจะมีเหตุผลมากกว่ากัน
ทั้งนี้ นายเสรี กล่าวถึงประเด็นการให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดกรณีที่เกิดวิกฤตว่า ที่ผ่านมาเรื่องการแก้ปัญหาเวลาเกิดวิกฤตมีการเขียนไว้แค่ลอยๆ เท่านั้น พอถึงเวลาก็ไม่มีผู้ที่จะมาชี้ขาดข้อยุติ การที่ กรธ.ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง แต่ทาง กมธ.จะหารือกันว่าแบบนี้เหมาะสมหรือไม่ หรือพอจะมีทางอื่นอีกหรือไม่ เพื่อจะชี้ขาดปัญหา อาทิ ใช้ช่องทางของมติ ส.ว.เพื่อหาทางออก หรืออาจจะใช้องค์กรอื่น เช่น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมาดูกันว่าแนวทางไหนจะมีประโยชน์ที่สุด
นอกจากนี้ นายเสรี กล่าวต่อไปว่า เรื่องที่มา ส.ส.นั้น ตนยืนยันว่า น่าจะให้มีจำนวน ส.ส.เขตให้เยอะ เพื่อสะท้อนเสียงประชาชนในแต่ละที่ ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญที่จะแก้ปัญหาให้กับประชาชน เพราะถ้า ส.ส.สะท้อนเสียงของประชาชนจริงๆ ปัญหาจะถูกแก้ในสภามากกกว่าบนท้องถนน ส่วนเรื่องที่มานายกรัฐมนตรีนั้น ตนคิดว่าต้องมีการเขียนเพื่อหาทางออกสำหรับนายกรัฐมนตรีคนนอก ไว้บ้าง เพราะไม่อย่างนั้นปัญหาจะมาถึงทางตันโดยตลอดแบบที่ผ่านมา สำหรับเรื่องที่ตนเห็นด้วยกับ กรธ.นั้น ได้แก่ เรื่องการปราบทุจริต ซึ่ง กมธ.จะไปศึกษาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปว่า สามารถปราบโกงได้ตามที่ว่าจริงหรือไม่
ทั้งนี้ นายเสรี กล่าวถึงประเด็นการให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดกรณีที่เกิดวิกฤตว่า ที่ผ่านมาเรื่องการแก้ปัญหาเวลาเกิดวิกฤตมีการเขียนไว้แค่ลอยๆ เท่านั้น พอถึงเวลาก็ไม่มีผู้ที่จะมาชี้ขาดข้อยุติ การที่ กรธ.ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง แต่ทาง กมธ.จะหารือกันว่าแบบนี้เหมาะสมหรือไม่ หรือพอจะมีทางอื่นอีกหรือไม่ เพื่อจะชี้ขาดปัญหา อาทิ ใช้ช่องทางของมติ ส.ว.เพื่อหาทางออก หรืออาจจะใช้องค์กรอื่น เช่น ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมาดูกันว่าแนวทางไหนจะมีประโยชน์ที่สุด
นอกจากนี้ นายเสรี กล่าวต่อไปว่า เรื่องที่มา ส.ส.นั้น ตนยืนยันว่า น่าจะให้มีจำนวน ส.ส.เขตให้เยอะ เพื่อสะท้อนเสียงประชาชนในแต่ละที่ ซึ่งนี่เป็นส่วนสำคัญที่จะแก้ปัญหาให้กับประชาชน เพราะถ้า ส.ส.สะท้อนเสียงของประชาชนจริงๆ ปัญหาจะถูกแก้ในสภามากกกว่าบนท้องถนน ส่วนเรื่องที่มานายกรัฐมนตรีนั้น ตนคิดว่าต้องมีการเขียนเพื่อหาทางออกสำหรับนายกรัฐมนตรีคนนอก ไว้บ้าง เพราะไม่อย่างนั้นปัญหาจะมาถึงทางตันโดยตลอดแบบที่ผ่านมา สำหรับเรื่องที่ตนเห็นด้วยกับ กรธ.นั้น ได้แก่ เรื่องการปราบทุจริต ซึ่ง กมธ.จะไปศึกษาร่างรัฐธรรมนูญต่อไปว่า สามารถปราบโกงได้ตามที่ว่าจริงหรือไม่