นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาภาพรวมธุรกิจของกลุ่มสามารถยังคงน่าพอใจ จากภาวะเศรษฐกิจซบเซา แต่การที่ในปี 2559 ปี มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงเชื่อว่าจะเป็นแรงหนุนที่สำคัญและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่กลุ่ม “สามารถ” บริษัทจึงตั้งเป้ารายได้รวม 24,000 ล้านบาท คิดเป็นรายได้จากสาย ไอซีที โซลูชั่น 10,000 ล้านบาท, โมบาย มัลติมีเดีย 7,000 ล้านบาท สายธุรกิจระบบจัดการในองค์กร 2,100 ล้านบาท และสายธุรกิจพลังงาน 5,000 ล้านบาท โดยในส่วนของการลงทุนทั้งกลุ่มสามารถฯในปี 2559 คาดใช้เงินไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท
“ในส่วนของรายได้ปี 2558 แม้ยังไม่สามารถบอกตัวเลขได้ตามกฎของ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) แต่เบื้องต้นพบว่ามีรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า 30,000 ล้านบาท เนื่องจาก ไอ-โมบายสามารถจำหน่ายได้ลดลง และโครงการภาครัฐที่ยังไม่รับรู้รายได้” นายวัฒน์ชัยกว่า
นายวัฒน์ชัยกล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจ โมบาย มัลติมีเดีย ภายใต้บริษัทลูก บริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด(มหาชน) ยอมรับว่าในปีที่ผ่านมาเป็นที่กลุ่มธุรกิจที่มีการพลาดเป้า โดยจากเดิมที่ตั้งเป้าจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ “ไอ-โมบาย” ไว้ที่ 4 ล้านเครื่องต่อปี เท่ากับยอดขายเฉลี่ยในหลายปีก่อนหน้านี้ แต่ท้ายสุดกลับพบว่าสามารถจำหน่ายได้เพียง 3 ล้านเครื่อง ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในตลาดทั้ง 3 ราย สร้างแบรนด์และลงมาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในตลาดตนเอง อีกทั้งยังเป็นการจำหน่ายราคาเครื่องที่ต่ำเพื่อจูงใจผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 สามารถไอ-โมบาย จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์การขายและบริการรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการที่จะให้มาแทนยอดการจำหน่ายโทรศัพท์ ซึ่งในปี 2559 ใช้งบลงทุนราว 1,000 ล้านบาท ได้แก่ การปรับเปลี่ยนร้าน สามารถไอ-โมบายในรูปโฉมใหม่ และ บริการซ่อมโทรศัพท์ทุกแบรนด์ บริการรับชำระค่าบริการครบวงจร บริการ “Wapp-Wapp” ส่งทุกสินค้าและบริการ
นายวัฒน์ชัยกล่าวว่า สำหรับธุรกิจ ไอซีที โซลูชั่น ปัจจุบันมีงานในมือแล้วมูลค่า 8,200 ล้านบาท คาดจะมีการลงทุนระบบต่างๆ เพื่อให้บริการราว 1,000 ล้านบาท โดยในธุรกิจดังกล่าวมั่นใจว่าปีนี้จะเป็นปีทองของสายธุรกิจ ไอซีที เนื่องจากหลายโอกาสจากหลายโครงการที่เลื่อนมาจากปี 2558 ประกอบกับมาตรการใหม่ๆ ของภาครัฐ ที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน บริษัทจึงคาดว่าจะมีโครงการใหม่ๆ ที่จะเข้าร่วมประมูลในปีนี้ คิดเป็นมูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท โดยคาดว่าน่าจะเซ็นสัญญาได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัยกล่าวด้วยว่า ส่วนสายธุรกิจพลังงานของบริษัทลูก บริษัท สามารถ ยูทรานส์ จำกัด จะมีการลงทุนที่ขึ้นอยู่กับโอกาสทางธุรกิจ คาดราว 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการในธุรกิจพลังงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ ซึ่งขณะนี้กำลังหลักเกณฑ์การอนุญาตที่ชัดเจนจากทางหน่วยงานรัฐ และสามารถฯจะประกาศความชัดเจนได้ในปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 10,000 ล้านบาท ในอีก 5 ปี ข้างหน้าทางสามารถยังคาดหวังมีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวราว 100,000 ล้านบาท แม้มีความเสี่ยงพลาดเป้าจากการที่รัฐบาลพยายามลดการใช้พลังงานก็ตาม ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานในอีก 4-5 ปี จะเป็นธุรกิจหลักของสามารถฯ และมีสัดส่วนรายได้รวมที่ 50%
“ในส่วนของรายได้ปี 2558 แม้ยังไม่สามารถบอกตัวเลขได้ตามกฎของ ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) แต่เบื้องต้นพบว่ามีรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า 30,000 ล้านบาท เนื่องจาก ไอ-โมบายสามารถจำหน่ายได้ลดลง และโครงการภาครัฐที่ยังไม่รับรู้รายได้” นายวัฒน์ชัยกว่า
นายวัฒน์ชัยกล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจ โมบาย มัลติมีเดีย ภายใต้บริษัทลูก บริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด(มหาชน) ยอมรับว่าในปีที่ผ่านมาเป็นที่กลุ่มธุรกิจที่มีการพลาดเป้า โดยจากเดิมที่ตั้งเป้าจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ “ไอ-โมบาย” ไว้ที่ 4 ล้านเครื่องต่อปี เท่ากับยอดขายเฉลี่ยในหลายปีก่อนหน้านี้ แต่ท้ายสุดกลับพบว่าสามารถจำหน่ายได้เพียง 3 ล้านเครื่อง ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในตลาดทั้ง 3 ราย สร้างแบรนด์และลงมาจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในตลาดตนเอง อีกทั้งยังเป็นการจำหน่ายราคาเครื่องที่ต่ำเพื่อจูงใจผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 สามารถไอ-โมบาย จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์การขายและบริการรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการที่จะให้มาแทนยอดการจำหน่ายโทรศัพท์ ซึ่งในปี 2559 ใช้งบลงทุนราว 1,000 ล้านบาท ได้แก่ การปรับเปลี่ยนร้าน สามารถไอ-โมบายในรูปโฉมใหม่ และ บริการซ่อมโทรศัพท์ทุกแบรนด์ บริการรับชำระค่าบริการครบวงจร บริการ “Wapp-Wapp” ส่งทุกสินค้าและบริการ
นายวัฒน์ชัยกล่าวว่า สำหรับธุรกิจ ไอซีที โซลูชั่น ปัจจุบันมีงานในมือแล้วมูลค่า 8,200 ล้านบาท คาดจะมีการลงทุนระบบต่างๆ เพื่อให้บริการราว 1,000 ล้านบาท โดยในธุรกิจดังกล่าวมั่นใจว่าปีนี้จะเป็นปีทองของสายธุรกิจ ไอซีที เนื่องจากหลายโอกาสจากหลายโครงการที่เลื่อนมาจากปี 2558 ประกอบกับมาตรการใหม่ๆ ของภาครัฐ ที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน บริษัทจึงคาดว่าจะมีโครงการใหม่ๆ ที่จะเข้าร่วมประมูลในปีนี้ คิดเป็นมูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท โดยคาดว่าน่าจะเซ็นสัญญาได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท
นายวัฒน์ชัยกล่าวด้วยว่า ส่วนสายธุรกิจพลังงานของบริษัทลูก บริษัท สามารถ ยูทรานส์ จำกัด จะมีการลงทุนที่ขึ้นอยู่กับโอกาสทางธุรกิจ คาดราว 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการในธุรกิจพลังงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ ซึ่งขณะนี้กำลังหลักเกณฑ์การอนุญาตที่ชัดเจนจากทางหน่วยงานรัฐ และสามารถฯจะประกาศความชัดเจนได้ในปลายเดือนมีนาคมนี้ โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้แตะ 10,000 ล้านบาท ในอีก 5 ปี ข้างหน้าทางสามารถยังคาดหวังมีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวราว 100,000 ล้านบาท แม้มีความเสี่ยงพลาดเป้าจากการที่รัฐบาลพยายามลดการใช้พลังงานก็ตาม ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานในอีก 4-5 ปี จะเป็นธุรกิจหลักของสามารถฯ และมีสัดส่วนรายได้รวมที่ 50%