นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า บริษัทการลงทุนแห่งชาติจีน (China Investment Corporation : CIC) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ ทั่วโลก รวมกว่า 740,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งในการเข้าร่วมลงทุนในกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (Thailad Future Fund) เนื่องจาก มีความสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนของ CIC ที่ต้องการแสวงหาการลงทุนในทรัพย์สินคุณภาพที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว และมีความมั่นคง ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ประสานงานโดยตรงในเรื่องดังกล่าวกับ CIC ต่อไป
ในช่วงวันที่ 29–30 มกราคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้เดินทางไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อหารือกับกลุ่มนักลงทุน ทั้งรัฐวิสาหกิจชั้นนำและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศจีน ถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมทั้ง ได้นำเสนอนโยบายปีแห่งการลงทุน (2016 Special Investment Promotion Year) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมและเพิ่มแรงจูงใจให้นักลงทุนจากต่างประเทศในการเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย ผ่านการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในรูปแบบต่างๆ ให้กลุ่มนักลงทุนจีนทราบ พร้อมทั้ง เชิญชวนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทยในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลให้การส่งเสริม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการหารือร่วมกับประธานและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนจีนชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งหลังจากที่กลุ่มนักลงทุนจีนได้รับทราบถึงนโยบายในการกระตุ้นการลงทุนของรัฐบาลไทยและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับเพิ่มเติมจากการลงทุนในปี 2559 แล้ว ต่างแสดงความสนใจในการเข้ามาศึกษาโอกาสในการขยายการลงทุนเพิ่มเติมในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการเข้ามาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters) ในไทย
ทั้งนี้ รายละเอียดของรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของจีน ที่ได้มีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สรุปดังนี้ 1) China National Building Material Group (CNBM) เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีนที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างของรัฐ รวมถึงการผลิตวัสดุก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ การผลิตปูนซีเมนต์ ไฟเบอร์กลาส และยิปซั่ม โดยมีกำลังการผลิตและยอดขายของวัสดุก่อสร้างข้างต้นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก
2) China Minmetals Corporation เป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจหลักด้านการค้าเหล็ก การทำเหมืองแร่ รวมไปถึง ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ จากการจัดอันดับบริษัท Fortune 500 ของปี 2557 บริษัทถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 198 ของโลก และเป็นบริษัทเหล็ก อันดับ 4 ของโลก
3) Power China Group เป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ พลังงานความร้อน และพลังงานทางเลือกต่างๆ รวมทั้งได้มีการขยายธุรกิจไปถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย โดยจากการจัดอันดับบริษัท Fortune 500 ของปี 2558 บริษัทถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 253 ของโลก
การเข้าพบของกลุ่มนักลงทุนจีนในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากธนาคาร Industrial and Commercial Bank of China Limited (ICBC) ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และมีฐานลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ สูงถึง 5 ล้านบริษัท ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานกลุ่มนักลงทุนที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ของประเทศจีน ในการหารือร่วมกันดังกล่าวข้างต้น โดยธนาคาร ICBC พร้อมที่จะให้การสนับสนุนในด้านแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนของกลุ่มนักลงทุนจีนในไทยด้วย
การขยายการลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนขนาดใหญ่ของจีน จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และภาคการผลิตของประเทศในระยะยาว รวมทั้ง ช่วยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
ในช่วงวันที่ 29–30 มกราคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะ ซึ่งประกอบด้วยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้เดินทางไปกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อหารือกับกลุ่มนักลงทุน ทั้งรัฐวิสาหกิจชั้นนำและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศจีน ถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมทั้ง ได้นำเสนอนโยบายปีแห่งการลงทุน (2016 Special Investment Promotion Year) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมและเพิ่มแรงจูงใจให้นักลงทุนจากต่างประเทศในการเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย ผ่านการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในรูปแบบต่างๆ ให้กลุ่มนักลงทุนจีนทราบ พร้อมทั้ง เชิญชวนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทยในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมสำคัญที่รัฐบาลให้การส่งเสริม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการหารือร่วมกับประธานและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนจีนชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งหลังจากที่กลุ่มนักลงทุนจีนได้รับทราบถึงนโยบายในการกระตุ้นการลงทุนของรัฐบาลไทยและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับเพิ่มเติมจากการลงทุนในปี 2559 แล้ว ต่างแสดงความสนใจในการเข้ามาศึกษาโอกาสในการขยายการลงทุนเพิ่มเติมในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนการเข้ามาจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters) ในไทย
ทั้งนี้ รายละเอียดของรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของจีน ที่ได้มีการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สรุปดังนี้ 1) China National Building Material Group (CNBM) เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีนที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างของรัฐ รวมถึงการผลิตวัสดุก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ การผลิตปูนซีเมนต์ ไฟเบอร์กลาส และยิปซั่ม โดยมีกำลังการผลิตและยอดขายของวัสดุก่อสร้างข้างต้นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก
2) China Minmetals Corporation เป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจหลักด้านการค้าเหล็ก การทำเหมืองแร่ รวมไปถึง ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ จากการจัดอันดับบริษัท Fortune 500 ของปี 2557 บริษัทถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 198 ของโลก และเป็นบริษัทเหล็ก อันดับ 4 ของโลก
3) Power China Group เป็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ พลังงานความร้อน และพลังงานทางเลือกต่างๆ รวมทั้งได้มีการขยายธุรกิจไปถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย โดยจากการจัดอันดับบริษัท Fortune 500 ของปี 2558 บริษัทถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 253 ของโลก
การเข้าพบของกลุ่มนักลงทุนจีนในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากธนาคาร Industrial and Commercial Bank of China Limited (ICBC) ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และมีฐานลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ สูงถึง 5 ล้านบริษัท ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานกลุ่มนักลงทุนที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ของประเทศจีน ในการหารือร่วมกันดังกล่าวข้างต้น โดยธนาคาร ICBC พร้อมที่จะให้การสนับสนุนในด้านแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนของกลุ่มนักลงทุนจีนในไทยด้วย
การขยายการลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนขนาดใหญ่ของจีน จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ และภาคการผลิตของประเทศในระยะยาว รวมทั้ง ช่วยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียนต่อไป