นายอธิคม อินทุภูมิ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงปัญหาการดำเนินงานของศาลยุติธรรมว่า หลักคือเรื่องปริมาณคดีที่มีมาก โดยในปี 2558 มีคดีในศาลชั้นต้น กว่า 1,404,199 คดี พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว กว่า 1,215,734 คดี หรือ ร้อยละ 86.58 คดีคงค้าง 188,465 คดี ขณะที่ศาลอุทธรณ์ มีคดี 51,201 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 42,954 คดี คิดเป็นร้อยละ 83.89 มีคดีคงค้าง 8,247 คดี ส่วนศาลฎีกา มีคดี 27,746 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 14,061 คดี คิดเป็นร้อยละ 56.82 มีคดีคงค้าง 10,685 คดี ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวจะเห็นว่า ศาลได้แก้ไขปัญหาคดีคงค้างได้มากขึ้น
ส่วนอีกปัญหาคือเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนกับการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการปล่อยชั่วคราว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมายการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 300,000 คน ซึ่งประมาณ 1 ใน 4 เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาและจำเลยกว่า 27,000 คน ที่ถูกปล่อยชั่วคราวแต่หลบหนี ซึ่งหากไทยมี Court Marshall หรือ ตำรวจศาลเหมือนเช่นต่างประเทศ อาจจะลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันสำหรับไทยอาจจะเป็นไปได้ยากเพราะต้องใช้งบประมาณสูงมาก ที่ผ่านมาจึงใช้มาตรการออกหมายจับปรับนายประกัน
อีกทั้งในขณะนี้ได้แก้กฎหมายให้นำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเอ็ม มาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการหลบหนีและให้ติดตามตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากผู้ต้องหาและจำเลยด้วย แต่หากผู้ต้องหาและจำเลยไม่ยินยอมจะให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวที่อาจจะไม่ได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ดีขณะนี้ก็พยายามจะเสนอแก้กฎหมายในส่วนของประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนเรื่องของการนับอายุความ ที่จะให้เหมือนการพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ที่จะให้อายุความไม่สิ้นสุดแม้จำเลยจะหลบหนี
ส่วนอีกปัญหาคือเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนกับการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการปล่อยชั่วคราว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมายการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 300,000 คน ซึ่งประมาณ 1 ใน 4 เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาและจำเลยกว่า 27,000 คน ที่ถูกปล่อยชั่วคราวแต่หลบหนี ซึ่งหากไทยมี Court Marshall หรือ ตำรวจศาลเหมือนเช่นต่างประเทศ อาจจะลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันสำหรับไทยอาจจะเป็นไปได้ยากเพราะต้องใช้งบประมาณสูงมาก ที่ผ่านมาจึงใช้มาตรการออกหมายจับปรับนายประกัน
อีกทั้งในขณะนี้ได้แก้กฎหมายให้นำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเอ็ม มาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการหลบหนีและให้ติดตามตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากผู้ต้องหาและจำเลยด้วย แต่หากผู้ต้องหาและจำเลยไม่ยินยอมจะให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวที่อาจจะไม่ได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ดีขณะนี้ก็พยายามจะเสนอแก้กฎหมายในส่วนของประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนเรื่องของการนับอายุความ ที่จะให้เหมือนการพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ที่จะให้อายุความไม่สิ้นสุดแม้จำเลยจะหลบหนี