นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดงาน มหกรรมอาหารและวัฒนธรรมมุสลิมไทย ครั้งที่ 6 ภายใต้แนวคิด เลิกบุหรี่บ้านละคน จัดโดยมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย(สสม.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นอีกหนึ่งศาสนาที่สอนว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ จึงจำเป็นต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และได้รับการรักษาที่เหมาะสม เมื่อเกิดการเจ็บป่วย สอดคล้องตามนโยบายหลักของ สธ.คือให้ความสำคัญสูงสุดต่อการดูแลสุขภาพคนไทยทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีประสิทธิภาพทุกมิติ ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าวว่า สสส.สนับสนุนให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะในกลุ่มมุสลิมไทยที่มีกว่า 3,400,000 คน ทั่วประเทศต่อเนื่อง ภายใต้หลักการสำคัญคือการพัฒนาคนด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะทางกาย ปัญญาและสังคม โดยเฉพาะการรณรงค์สร้างความตระหนักในการลดสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยขณะนี้ในสังคมมุสลิมไทยมีมัสยิดเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 570 แห่ง คิดเป็นร้อยละ15 ของมัสยิดทั่วปะเทศ และมีจังหวัดที่ประกาศให้เป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ อีก 15 จังหวัด ซึ่งมัสยิดปลอดบุหรี่ จะเป็นกลไกสนับสนุนให้ชาวมุสลิมร้อยละ 22.9 เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ได้ ในอนาคต สสส.ตั้งเป้าภายในอีก 3 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 ชาวมุสลิมจะลดละเลิกบุหรี่ได้อย่างน้อยร้อยละ10 ในพื้นที่เป้าหมาย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่มีชาวมุสลิมสูงสุด
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นอีกหนึ่งศาสนาที่สอนว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและวิญญาณ จึงจำเป็นต้องดูแลร่างกายของตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้รับอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และได้รับการรักษาที่เหมาะสม เมื่อเกิดการเจ็บป่วย สอดคล้องตามนโยบายหลักของ สธ.คือให้ความสำคัญสูงสุดต่อการดูแลสุขภาพคนไทยทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีประสิทธิภาพทุกมิติ ผ่านความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าวว่า สสส.สนับสนุนให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะในกลุ่มมุสลิมไทยที่มีกว่า 3,400,000 คน ทั่วประเทศต่อเนื่อง ภายใต้หลักการสำคัญคือการพัฒนาคนด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะทางกาย ปัญญาและสังคม โดยเฉพาะการรณรงค์สร้างความตระหนักในการลดสูบบุหรี่ สิ่งมึนเมา ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพโดยขณะนี้ในสังคมมุสลิมไทยมีมัสยิดเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 570 แห่ง คิดเป็นร้อยละ15 ของมัสยิดทั่วปะเทศ และมีจังหวัดที่ประกาศให้เป็นมัสยิดปลอดบุหรี่ อีก 15 จังหวัด ซึ่งมัสยิดปลอดบุหรี่ จะเป็นกลไกสนับสนุนให้ชาวมุสลิมร้อยละ 22.9 เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ได้ ในอนาคต สสส.ตั้งเป้าภายในอีก 3 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 ชาวมุสลิมจะลดละเลิกบุหรี่ได้อย่างน้อยร้อยละ10 ในพื้นที่เป้าหมาย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่มีชาวมุสลิมสูงสุด