สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (13 ม.ค.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่แล้ว
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ.ขยับขึ้น 4 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 30.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ปรับลง 55 เซนต์ หรือ 1.8% ปิดที่ 30.31 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2547 หลังจากช่วงหนึ่งทรุดลงไปแตะ 29.96 ดอลลาร์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ฟื้นตัวขึ้นหลังจาก EIA รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 8 ม.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 234,000 บาร์เรล สู่ระดับ 482.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 97,000 บาร์เรล สู่ระดับ 64 ล้านบาร์เรล
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 8.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 240.4 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 6.1 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 165.6 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล
สำหรับอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 1.3% สู่ระดับ 91.2% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.0%
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนก.พ.ขยับขึ้น 4 เซนต์ หรือ 0.1% ปิดที่ 30.48 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ปรับลง 55 เซนต์ หรือ 1.8% ปิดที่ 30.31 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2547 หลังจากช่วงหนึ่งทรุดลงไปแตะ 29.96 ดอลลาร์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ฟื้นตัวขึ้นหลังจาก EIA รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 8 ม.ค.เพิ่มขึ้นเพียง 234,000 บาร์เรล สู่ระดับ 482.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะพุ่งขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล
สำหรับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 97,000 บาร์เรล สู่ระดับ 64 ล้านบาร์เรล
ด้านสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 8.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 240.4 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 6.1 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 165.6 ล้านบาร์เรล เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล
สำหรับอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 1.3% สู่ระดับ 91.2% ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.0%