นายปิติ แก้วสลับสี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า ภาพรวมสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งในปีนี้ภัยแล้งมีความรุนแรงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำที่กั้นแม่น้ำยมทุกแห่งได้มีการปิดประตูระบายน้ำ เนื่องจากต้องกักเก็บและผันเข้าสู่คลองสาขาต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
สำหรับแหล่งน้ำทั้ง 7 แห่งในเขตชลประทาน มีปริมาณกักเก็บของเพียงร้อยละ 30 ซึ่งเกษตรกรสามารถทำการเกษรตรได้เพียง 10,000 ไร่ จากพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 300,000 ไร่ จึงได้แนะเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูก เนื่องจากพบว่าในบางพื้นที่ยังมีการทำนาปรัง เกรงว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังคงแนะนำให้ทำการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพราะน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด และปริมาณน้ำที่มีอยู่ยังคงนำไปใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค
สำหรับแหล่งน้ำทั้ง 7 แห่งในเขตชลประทาน มีปริมาณกักเก็บของเพียงร้อยละ 30 ซึ่งเกษตรกรสามารถทำการเกษรตรได้เพียง 10,000 ไร่ จากพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 300,000 ไร่ จึงได้แนะเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูก เนื่องจากพบว่าในบางพื้นที่ยังมีการทำนาปรัง เกรงว่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ยังคงแนะนำให้ทำการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพราะน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด และปริมาณน้ำที่มีอยู่ยังคงนำไปใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค